วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

คำกล่าวรายงาน เปิด ปิดการสัมมนาคีรีวงโดยสุมณฑินี สมัครพงศ์

คำกล่าวรายงาน
ของ
นายสัตวแพทย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ ประธานนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อ .................................................................................................................
ในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่องเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2551
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช

เรียน ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิฑูรย์ เดชเดโช
กระผมในนามของคณะนักศึกษามหาบัณฑิตและคณะกรรมการผู้จัดการสัมมนา ขอขอบพระคุณท่านนายกอง๕การบริส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิฑูรย์ เดชเดโช เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธาน ในการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ในวันนี้
กระผมใคร่ขออนุญาตเรียนถึง ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง โดยสังเขปดังนี้
การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 – ฉบับที่ 9 ส่วนหนึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าแบบทุนนิยมเพื่อนำไปสู่ความทันสมัย เน้นความเจริญทางด้านวัตถุ ทำให้เกิดความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรม ขาดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้มุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (Green Society) โดยคำนึงถึงการดำเนินการในทางสายกลาง ที่อยู่บนพื้นฐานความพอดี เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก และความพอประมาณอย่างมีเหตุผล เป็นการใช้ชีวิต การผลิตและการบริโภคอยู่บนความพอประมาณ และการเสริมสร้างคุณภาพคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต”
นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสัมมนาครั้งนี้คือ
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านคีรีวง
2. เพื่อศึกษาแนวทาง วิธีดำเนินงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านคีรีวง ในมิติด้านการบริหารจัดการ กลยุทธ์การพัฒนา ตลอดจนการพัฒนาอาชีพของชุมชนบ้านคีรีวง
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาข้อสรุปจากการสัมมนาครั้งนี้ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
การสัมมนาในครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการสัมมนา 1 วันคือวันที่ 12 กรกฎาคม 2551 ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผู้ประสานงานนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช วิทยากรจากผู้เฒ่าชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้แทนจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งได้แก่ กลุ่มสมุนไพร กลุ่มผ้ามัดย้อม กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน และผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช พัฒนากรอำเภอลานสกา หน่วยงานทางการศึกษาโรงเรียนไทยรัฐวิทยา64 สาธารณสุขอำเภอลานสกา หัวหน้าสถานีอนามัย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลลานสกา และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเรียนเชิญท่านนายกองค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิฑูรย์ เดชเดโช กล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ณ บัดนี้

คำกล่าวเปิดของ
นายวิฑูรย์ เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่องเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2551 เวลา 09.00 น.
ณ อาคารศูนย์เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช

....................................
เรียน ท่านอาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผู้ประสานงานนักศึกษามหาบัณฑิต ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานนักศึกษามหาบัณฑิต ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ หน่วยงานราชการต่างๆ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ในวันนี้
คีรีวง เป็นชุมชนที่มีพื้นที่สวยงาม ได้รับการเปรียบเปรยจากผู้มาเยี่ยมเยียนว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์น้อย ๆ มีธรรมชาติที่งดงามทั้งภูเขา ป่าไม้และสายน้ำ ปัจจุบันการคมนาคมสะดวก มีกลุ่มอาชีพต่างๆที่เข้มแข็งมากมาย อาทิเช่น กลุ่มบ้านสมุนไพร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มผ้ามัดย้อม กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน กลุ่มใบไม้ และอีกหลายๆกลุ่ม มีระบบธุรกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ปัจจุบันถือเป็นแหล่งดูงานที่ได้รับความสนใจจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ใครมาเยี่ยมเยือนก็จะได้รับความประทับจากอัธยาศัยไมตรีที่ดีของพี่น้องชาวคีรีวงกลับไปด้วยทุกครั้ง
การสัมมนาทางวิชาการเรื่องเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ในวันนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สอดรับกับการพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นตามหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งหลาย ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนการผลิต กลยุทธ์

การตลาด ตลอดจนการพัฒนาอาชีพของชุมชนบ้านคีรีวง นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และหาข้อสรุปจากการประชุมสัมมนา นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น กระผมเชื่อมั่นว่า จากความตั้งใจจริงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน ประกอบกับความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญของวิทยากรที่ร่วมสัมมนาทุกท่าน จะทำให้การสัมมนาในวันนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน นำผลที่ได้รับจากการสัมมนาในวันนี้ นำไปพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช ให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ในนามขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันจัดงานที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
บัดนี้ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว กระผมขอตั้งจิตอธิษฐานอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ และขอเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บัดนี้

คำกล่าวปิดของ
นายอนันต์ คลังจันทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและตัวแทนนักศึกษา
ในพิธีปิดการสัมมนาวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2551
ณ อาคารศูนย์เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช

...................................
เรียน ท่านอาจารย์ดร.ชินวงศ์ ศรีงาม ท่านสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ท่านวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มากล่าวปิดการสัมมนาวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ในวันนี้ และมีความยินดีเป็นอย่างมาก ที่การสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ
การสัมมนาในวันนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านเป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของการสัมมนาในวันนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มาร่วมกันเรียนรู้ ศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนการผลิต กลยุทธ์การตลาด ตลอดจนการพัฒนาอาชีพของชุมชนบ้านคีรีวง เพื่อนำผลไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการหาข้อสรุปตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆไปพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วิชาเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาสหการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จะได้รับแนวคิด มุมมองใหม่ๆ ทำให้เห็นระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งของชุมชนบ้านคีรีวง ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างลุ่มลึกยิ่งขึ้น นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง สู่ระดับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
สุดท้ายนี้กระผมขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ดร.ชินวงศ์ ศรีงาม อาจารย์ผู้สอนวิชาวิชาเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คุณสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ผู้ประสานงานนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช วิทยากร ปราชญ์ผู้เฒ่า ปราชญ์ชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ หน่วยงานราชการต่างๆ ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช สาธารณสุขอำเภอลานสกา พัฒนากรอำเภอลานสกา หัวหน้าสถานีอนามัย คณะครูจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เจ้าของสถานที่ พี่น้องชาวคีรีวงทุกท่าน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน ที่ทำให้นักศึกษามีเวทีในวันนี้ และส่วนร่วมทำให้การสัมมนาครั้งนี้ได้เกิดผลและสำเร็จลงด้วยดีตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน จงนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นพัฒนาชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านประสบความสุข ความสำเร็จในสิ่งที่หวังทุกประการ และขอปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคีรีวง ณ บัดนี้

คำกล่าวรายงานกล่าวเปิดกล่าวปิดการสัมมนาโดยสุมณฑินี สมัครพงศ์

คำกล่าวรายงาน
ของ
นายสัตวแพทย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ ประธานนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อ นายอำเภอลานสกา นายอภินันท์ เผือกผ่อง
ในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนา อ.บ.ต.ขุนทะเล”และ “กลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล”
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
............................................
เรียน ท่านนายอำเภอลานสกา ท่านอภินันท์ เผือกผ่อง
กระผมในนามของคณะนักศึกษามหาบัณฑิตและคณะกรรมการผู้จัดการสัมมนา ขอขอบพระคุณท่านอภินันท์ เผือกผ่อง นายอำเภอลานสกาเป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธาน ในการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนา อ.บ.ต.ขุนทะเล”และ “กลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล”
กระผมใคร่ขออนุญาตเรียนถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล”และ “กลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” โดยสังเขปดังนี้
การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 – ฉบับที่ 9 ส่วนหนึ่งส่งผลให้ประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้าแบบทุนนิยม เศรษฐกิจ กลายเป็นตัวกำหนด และชี้นำวัฒนธรรมซึ่งส่งผลในการสร้างและเปลี่ยนค่านิยม วิธีคิดและพฤติกรรมอันเป็นวิถีชีวิตชุมชน ผลที่ตามมาทำให้ชุมชนสูญเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตนเอง สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้มุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงทางสายกลาง ที่อยู่บนพื้นฐานความพอดี เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก มีความพอประมาณอย่างมีเหตุผล เป็นการเสริมสร้างคุณภาพคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต ชุมชนขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งที่ได้ขยายความคิดและพัฒนากระบวนการพึ่งตนเองให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล”และ “กลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสัมมนาครั้งนี้คือ
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียงบ้านขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. เพื่อศึกษาผลผลิตที่เด่น มีคุณภาพ และกลยุทธ์ด้านการตลาดของชุมชนบ้านขุนทะเล
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาข้อสรุปจากการสัมมนา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน โดยมีหัวข้อในการสัมมนาดังนี้
1. การบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียงบ้านขุนทะเล อำเภอลานสกา
2. ผลิตภัณฑ์ที่เด่นและมีคุณภาพของบ้านขุนทะเล
3. กลยุทธ์ด้านการตลาดของบ้านขุนทะเล
การสัมมนาในครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการสัมมนา 1 วันคือวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครดร.สุพจน์ แสงเงิน ผู้ประสานงานนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษานายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ วิทยากรจากชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้แทนจากกลุ่มเครือข่ายต่างๆ หน่วยงานทางการศึกษา และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน โดยใช้งบประมาณจากสวัสดิการของนักศึกษาทุกคน สำหรับสถานที่ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดียิ่ง จากองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้ผู้เข้าสัมมนาในระดับบัณฑิตศึกษาทุกคน ชุมชนบ้านขุนทะเลตลอดจนผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาข้อสรุปจากการสัมมนา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนต่อไป
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเรียนเชิญท่านอภินันท์ เผือกผ่อง นายอำเภอขุนทะเลกล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล”และ “กลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ณ บัดนี้


คำกล่าวเปิดของ
นายอภินันท์ เผือกผ่อง นายอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง“โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล”และ “กลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล”
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช

....................................
เรียน ท่านดร.สุพจน์ แสงเงิน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย หน่วยงานราชการต่างๆ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกคน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีเปิด การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลและกลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดขึ้นในวันนี้
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การบริการ การผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต โดยให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ บนรากฐานของความสามารถที่มีอยู่จากการใช้ทุนของชุมชน ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจเองในเรื่องการผลิต การจำหน่าย และการแบ่งปันผลประโยชน์ตามศักยภาพและทุนที่มีอยู่ของชุมชน ทำให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมลดลงและหมดไปจากชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ การนำเอากระแสพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาสานต่อ เป็นการกลับสู่สมดุลของสังคม เศรษฐกิจ จิตใจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม นำไปสู่ความพอเพียง 7 ด้านคือ ครอบครัวพอเพียง จิตใจพอเพียง เอื้ออาทรพอเพียง สิ่งแวดล้อมพอเพียง ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง ปัญญาพอเพียง ฐานวัฒนธรรมพอเพียง และมีความมั่นคงพอเพียง ตามพื้นฐานที่มีอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั่นก็คือ “ชุมชน”
ชุมชนขุนทะเลเป็นส่วนแสดงถึงความสำเร็จจากประสบการณ์ดำเนินชีวิต โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากชีวิตจริง ผ่านการร่วมคิด ร่วมวางแผน และแก้ปัญหา จนกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่ครอบครัวอบอุ่น เกิดสังคมเข้มแข็ง อยู่ดีมีสุข มีผู้นำที่หลากหลายพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนรุ่นหลัง มีรางวัลทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศให้เป็นที่ประจักษ์
การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง“โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลและกลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ในวันนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สอดรับกับการพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่น ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งหลาย ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาข้อสรุปจากการประชุมสัมมนา นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งกระผมเชื่อมั่นว่า จากความตั้งใจจริงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน ประกอบกับความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญของวิทยากรอันจะทำให้การสัมมนาในวันนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านนำผลที่ได้รับจากการสัมมนาในวันนี้ไปพัฒนาชุมชนของท่านและพัฒนาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช ให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป
ในนามของชุมชนขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ขอขอบพระคุณทุกท่านทั้งคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตทุกคน วิทยากร องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล และชาวชุมชนขุนทะเลทุกคน ที่ได้ช่วยกันจัดงานที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงขึ้นในวันนี้
บัดนี้ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว กระผมขอตั้งจิตอธิษฐานอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ สำเร็จด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ และขอเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลและกลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บัดนี้

คำกล่าวปิดของ
นาย................................................................
ในพิธีปิดการสัมมนาวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลและกลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล”
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
...................................
เรียน ท่านดร.สุพจน์ แสงเงิน ท่านสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ท่านวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มากล่าวปิดการสัมมนาวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลและกลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ในวันนี้ และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่การสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ
การสัมมนาในวันนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านเป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของการสัมมนาในวันนี้ ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการศึกษาถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัวของชุมชนไม้เรียง รูปแบบและกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนไม้เรียง นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาข้อสรุปจากการประชุมสัมมนา นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อนำผลไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการหาข้อสรุปตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆไปพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาสหการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จะได้รับแนวคิด มุมมองใหม่ๆ ทำให้เห็นระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งของชุมชนไม้เรียง ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างลุ่มลึกยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง สู่ระดับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
สุดท้ายนี้กระผมขอขอบพระคุณ นายอำเภอลานสกา อาจารย์ดร.สุพจน์ แสงเงิน อาจารย์ผู้สอน วิชาสัมมนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คุณสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ผู้ประสานงานนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช วิทยากร ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย หน่วยงานราชการต่างๆ เจ้าของสถานที่ พี่น้องขุนทะเลทุกท่าน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน ที่ทำให้นักศึกษามีเวที และส่วนร่วมทำให้การสัมมนาครั้งนี้ ได้เกิดผลและสำเร็จลงด้วยดี ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน จงนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นพัฒนาชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านประสบความสุข ความสำเร็จในสิ่งที่หวังทุกประการ และขอปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างองค์กรกับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลและกลุ่มอาชีพกับการพัฒนาของชุมชนขุนทะเล” ณ บัดนี้

คำกล่าวรายงานไม้เรียงเขียนโดยสุมณฑินี สมัครพงศ์

คำกล่าวรายงาน
ของ
นายสัตวแพทย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ ประธานนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อ นาย............................................................................................................
ในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง
วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2551
ณ โรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์ อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
............................................
เรียน นายอำเภอ สกล…………….
กระผมในนามของคณะนักศึกษามหาบัณฑิตและคณะกรรมการผู้จัดการสัมมนา ขอขอบพระคุณท่านนายอำเภอฉวาง ท่าน เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธาน ในการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ในวันนี้
กระผมใคร่ขออนุญาตเรียนถึง ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง พอสังเขปดังนี้
การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 – ฉบับที่ 9 ส่วนหนึ่งส่งผลให้ประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้าแบบทุนนิยม เศรษฐกิจ กลายเป็นตัว กำหนด และชี้นำวัฒนธรรมซึ่งส่งผลในการสร้างและเปลี่ยนค่านิยม วิธีคิดและพฤติกรรมอันเป็นวิถีชีวิตชุมชน ผลที่ตามมาทำให้ชุมชนในชนบท สูญเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตนเอง พลังความเข้มแข็งของกลุ่มแบบพึ่งพาอาศัย และกลุ่มเครือญาติลดลง ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ได้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนอย่างแนบแน่น ทำให้ชุมชนชนบทละทิ้งฐานเดิม เปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนอาชีพ สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้มุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงทางสายกลาง ที่อยู่บนพื้นฐานความพอดี เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก มีความพอประมาณอย่างมีเหตุผล เป็นการเสริมสร้างคุณภาพคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต และชุมชนที่ได้ขยายความคิดและกระบวนการ พึ่งตนเองไปทั่วประเทศ คือ “ชุมชนไม้เรียง” ของตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้เกิด เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ของชุมชนไม้เรียง ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้น
นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสัมมนาครั้งนี้คือ
1. เพื่อศึกษาถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัวของชุมชนไม้เรียง
2. เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนไม้เรียง
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาข้อสรุปจากการสัมมนา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน
โดยแบ่งเป็น 7 ประเด็นย่อยดังนี้ 1. พัฒนาการของเครือข่ายไม้เรียง 2.บทบาทของผู้นำในการพัฒนาเครือข่าย 3. ทุนทางสังคม : ฐานการพัฒนาเครือข่าย 4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเครือข่าย 5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเครือข่าย 6. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเครือข่าย 7. กิจกรรมและผลงานของเครือข่าย
การสัมมนาในครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการสัมมนา 1 วันคือวันที่ 24 สิงหาคม 2551 โดยภาคเช้าเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย และภาคบ่ายเป็นการสัมมนากลุ่มใหญ่ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รองศาตราจารย์เปรมชญา ชนะวงศ์ ผู้ประสานงานนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วิทยากรจากชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้แทนจากกลุ่มเครือข่ายต่างๆ หน่วยงานทางการศึกษา และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน โดยใช้งบประมาณจากสวัสดิการของนักศึกษาทุกท่าน สำหรับสถานที่ ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดียิ่ง จากโรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้ผู้เข้าสัมมนาในระดับบัณฑิตศึกษา ได้บริบทการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัวของชุมชน รวมถึงรูปแบบและกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนไม้เรียง ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หาข้อสรุปจากการสัมมนา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนต่อไป
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเรียนเชิญท่านนายอำเภอฉวาง ท่านสกล กล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ณ บัดนี้

คำกล่าวเปิดของ
นายสกล ………. นายอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องเครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2551 เวลา 09.00 น.
ณ โรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์ อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช

....................................
เรียน ท่านรองศาสตราจารย์เปรมชญา ชนะวงศ์ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย หน่วยงานราชการต่างๆ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกคน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ในวันนี้
ชุมชนไม้เรียงมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และการปรับตัวมาอย่าต่อเนื่องและยาวนาน การก่อตั้งถิ่นฐานแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการพึ่งพาตนเองโดยอาศัยเครือข่ายความสัมพันธ์ของระบบญาติ ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการริเริ่มการพึ่งตนเองด้วยการสร้างผู้นำเช่นคุณประยงค์ รณรงค์ ผู้ซึ่งทุ่มเททั้งชีวิตให้กับงานพัฒนาชุมชน ได้รับรางวัล"แม๊กไซไซ” ซึ่งเป็นรางวัลระดับเอเซีย เป็นผู้นำชุมชนอาวุโสที่ในแวดวงงานพัฒนา ต่างรู้จักกันดีว่าเป็นผู้ริเริ่มเรื่อง แผนชุมชนจากประสบการณ์ที่ได้เริ่มทำแผนชุมชนที่ ต.ไม้เรียง ตั้งแต่ปี 2527 จนกลายเป็นแนวทางสำคัญในการทำงานพัฒนาชุมชน ที่กระตุ้นให้ชุมชนได้หันมาทบทวนรู้จักชุมชนท้องถิ่นของตนเอง รู้ข้อมูล รู้ปัญหา รู้ศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชน แล้วมาร่วมกันวางแผนกำหนดทิศทางการพัฒนาของตนเอง รูปธรรมที่ ต.ไม้เรียง ได้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนหน่วยงาน สถาบันการศึกษาต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีพัฒนาการของกระบวนการเรียนรู้และการจัดการชุมชนสู่การพึ่งตนเองมาอย่างต่อเนื่อง

การสัมมนาทางวิชาการเรื่องเครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ในวันนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สอดรับกับการพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นตามหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งหลาย ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการศึกษาถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัวของชุมชนไม้เรียง รูปแบบและกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนไม้เรียง นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนา จะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และหาข้อสรุปจากการประชุมสัมมนา นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งกระผมเชื่อมั่นว่า จากความตั้งใจจริงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน ประกอบกับความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญของวิทยากรที่ร่วมสัมมนาทุกท่าน จะทำให้การสัมมนาในวันนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน นำผลที่ได้รับจากการสัมมนาในวันนี้ นำไปพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช ให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ในนามของอำเภอ กระผมขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันจัดงานที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
บัดนี้ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว กระผมขอตั้งจิตอธิษฐานอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ และขอเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บัดนี้

คำกล่าวปิดของ
นาย................................................................
ในพิธีปิดการสัมมนาวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง
วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาาคม 2551
ณ โรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์ อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช

...................................
เรียน ท่านรองศาสตราจารย์เปรมชญา ชนะวงศ์ ท่านสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ท่านวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มากล่าวปิดการสัมมนาวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ในวันนี้ และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่การสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ
การสัมมนาในวันนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านเป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของการสัมมนาในวันนี้ ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการศึกษาถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัวของชุมชนไม้เรียง รูปแบบและกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนไม้เรียง นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาข้อสรุปจากการประชุมสัมมนา นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อนำผลไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการหาข้อสรุปตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆไปพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาสหการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จะได้รับแนวคิด มุมมองใหม่ๆ ทำให้เห็นระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งของชุมชนไม้เรียง ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างลุ่มลึกยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง สู่ระดับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
สุดท้ายนี้กระผมขอขอบพระคุณ ท่านประยงค์ รณรงค์ ท่านอาจารย์เปรมชญา ชนะวงศ์ อาจารย์ผู้สอน วิชาสัมมนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คุณสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ผู้ประสานงานนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศูนย์การเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช วิทยากร ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย หน่วยงานราชการต่างๆ ผู้บริหารและคณะครูจากโรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์ เจ้าของสถานที่ พี่น้องชาวไม้เรียงทุกท่าน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน ที่ทำให้นักศึกษามีเวที และส่วนร่วมทำให้การสัมมนาครั้งนี้ ได้เกิดผลและสำเร็จลงด้วยดี ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน จงนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นพัฒนาชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านประสบความสุข ความสำเร็จในสิ่งที่หวังทุกประการ และขอปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เครือข่ายไม้เรียง : การพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ณ บัดนี้

การสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

การสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
: นวัตกรรมเพื่อการลดรายจ่ายในครัวเรือน
นางสุมณฑินี สมัครพงศ์
ครูโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
นักศึกษาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ศูนย์เรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช

1. ความนำ
ความหมายของคำว่า “เครือข่าย” เท่าที่ผู้วิจัยสืบค้นมา พอจะแบ่งความหมายออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ การให้ความหมายโดยเน้นที่โครงสร้าง (Structure) และให้ความหมายโดยเน้นที่ตัวแสดง (Actor) กลุ่มแรกมองว่า เครือข่ายเป็นระบบ (Robin 1990) หรือรูปแบบของการประสานงาน (กาญจนา แก้วเทพ, 2538 : 23-24) ส่วนกลุ่มหลังมองว่า เครือข่ายเป็นการตกลงใจเชื่อมโยงกันของปัจเจกบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานใด ๆ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544 : 34, ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์, 2547, เสรี พงศ์พิศ, 2548 :100) ในทัศนะของผู้วิจัยมองว่า เครือข่าย ต้องเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างโครงสร้างและตัวแสดง กล่าวคือ โครงสร้างของเครือข่ายเป็นตัวกำหนดบทบาทของสมาชิกเครือข่าย ขณะเดียวกัน สมาชิกเครือข่ายก็มีอิทธิพลต่อโครงสร้างของเครือข่ายด้วย ในทางสังคมวิทยาเรียกว่า “การสร้างความหมายร่วม” (Double Hermeneutic) (ฟริจ๊อฟ คาปร้า,2546 : 27)
แนวคิดที่ว่าด้วย “เครือข่าย”สัมพันธ์กับแนวคิดที่ว่าด้วยประชาคมและแนวคิดเกี่ยวกับรัฐมานานแล้ว ซึ่งจากความเชื่อในศาสนาคริสต์ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ผสมผสานระหว่างยิว กรีก และโรมัน หรือเรียกสั้นๆว่า “ประเพณียูเดวคริสเตียน” ศาสนาคริสต์จักรค่อยๆขยายจากถิ่นกำเนิดไปสู่ภูมิภาคภายใต้อารยธรรมกรีกและโรมัน ถูกเบียดเบียนโดยอำนาจรัฐในทุกพื้นที่ พวกเขารวมตัวเป็น “ชุมชนชาวคริสต์” และมีเครือข่ายของตนเองทั้งในพื้นที่เดียวกันและในภูมิภาคต่างๆ เชื่อมโยงประสานกันทั้งโดยสถาบันและทั้งโดยขบวนการ จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากอาณาจักรโรมันในยุคจักรพรรดิคอนสแตนเมื่อประมาณปีค.ศ. 350(เสรี พงศ์พิศ,2548 : 29)
สำหรับเครือข่ายในวงการพัฒนาในประเทศไทยค่อยๆวิวัฒนาการมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 2520 เมื่อขบวนการพัฒนาชนบทในประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญเป็นจุดเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ไม่กี่องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งที่เป็นเกษตรกร ทั้งที่รายบุคคล รายย่อย หรือเป็นกลุ่มที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ดังตัวอย่างของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนานาชาติถึงระดับท้องถิ่น
กลุ่มเครือข่ายอินแปง เป็นเครือข่ายองค์กรชาวบ้านรอบเทือกเขาภูพาน ซึ่งปัจจุบันมีนายเสริม อุดมนา เป็นประธาน มีสมาชิกจำนวน 25 อำเภอ 87 ตำบล 849 หมู่บ้าน ใน 5 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ จ.สกลนคร จ.กาฬสินธุ์จ.อุดรธานี จ.มุกดาหาร และ จ.นครพนม ซึ่งดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองต่อเนื่องกว่า 20 ปี ด้วยแนวคิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อการพึ่งตนเองบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีโครงการสำคัญ ได้แก่ การผลักดันให้ชุมชนจำนวน 1,000 ครอบครัว รอบป่าภูพานหันมาทำการเกษตรแบบป่า ด้วยการนำเอาเมล็ดของพืชในป่าภูพานมาเพาะปลูกในไร่นาสวนตนเอง ทำให้ครอบครัวมีอยู่มีกิน และลดการบุกรุกป่า การผลิตสินค้าธรรมชาติที่มีคุณภาพ ได้แก่ น้ำหมากเม่า และไวน์บ้านบัว บ้านโนนคอกวัว บ้านโนนหัวช้าง บ้านไทรทอง ซึ่งมีชื่อเสียงมากว่านและผลิตภัณฑ์จากว่าน ปุ๋ยชีวภาพ ต.หนองหญ้าไซ และสร้างมหาวิทยาลัยชีวิต เพื่อการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ของชุมชนผ่านหลักสูตรการเกษตรแบบยั่งยืน หลักสูตรเด็กและเยาวชนฮักถิ่น หลักสูตรสุขภาพชุมชน และหลักสูตรการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ฯลฯ โดยมีผู้เข้ามาเรียนรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 คน(เสรี พงศ์พิศ,2548 : 95-119)
เครือข่ายยมนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง 3 กลุ่มอาชีพ มีเครือข่ายยางพารา จำนวน 22 กลุ่ม ใน 10 อำเภอ เครือข่ายไม้ผลจำนวน 3 ชมรม ใน 8 อำเภอ เครือข่ายนา จำนวน 6 กลุ่ม ใน 5 อำเภอ มาร่วมมือกันมีอักษรย่อของเครือข่ายว่า "ยมนา"ในจังหวัดนครศรีธรรมราชเอง มีกิจกรรมร่วมกันที่สำคัญคือ โรงงานผลิตแป้งขนมจีนโดยเครือข่ายยางพารา เครือข่ายไม้ผล และเครือข่ายนาข้าว ร่วมกันจัดตั้งบริษัทชื่อ บริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด เป็นการนำข้าวคุณภาพต่ำราคาถูกจากชาวนาในลุ่มน้ำปากพนังมาแปรรูปเป็นแป้งขนมจีน จำหน่ายให้กับผู้ผลิตเส้นขนมจีนทั่วไป ปัจจุบันสามารถผลิตแป้งขนมจีนได้วันละ 10 ตัน และขยายตลาดไปอีกถึง 7 จังหวัด และได้กลายเป็นสถานที่ศึกษา เรียนรู้เรื่องการจัดการทรัพยากรที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร และเป็นต้นแบบวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย(เสรี พงศ์พิศ,2548 : 88-95)
เครือข่ายการเลี้ยงผึ้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งใน 4 อำเภอ จำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ อำเภอเชียรใหญ่ 3 กลุ่ม อำเภอชะอวด 4 กลุ่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 2 กลุ่ม และอำเภอช้างกลาง 2 กลุ่ม โดยเริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2546 เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ค่อยๆเกิดขึ้น เมื่อนักวิจัยคือคุณเกษตร ขุนจันทร์ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอช้างกลางและนักศึกษาปริญญาโทสาขาไทยคดี ได้ออกไปพูดคุย สนทนากับชาวบ้านเก็บข้อมูลและ “เชื่อมข้อมูล” ระหว่างกลุ่ม นำข้อมูลจากที่หนึ่งไปเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับอีกที่หนึ่ง เป็นแกนนำหนุนเสริมให้แต่ละกลุ่มมาประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญเมื่อต่างได้มาพบเห็นว่ากลุ่มอื่นเขาดำเนินการอย่างไร มีวิธีบริหารจัดการอย่างไร เมื่อพบปัญหาเขาแก้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายการเลี้ยงผึ้ง แต่ละกลุ่มเขามีความคิดและประสบการณ์อย่างไรบ้าง จนถึงทุกวันนี้มีการติดกันไม่เคยขาด มีการประชุมที่ชาวบ้านเป็นผู้ดำเนินการ ออกค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวันเอง ทุกคนอยากไปร่วมประชุม เพราะรู้ว่าไปแล้วได้เรียนรู้ ได้ผลคุ้มเวลา ทุกคนเป็นครูและเป็นศิษย์พร้อมกันตลอดเวลา ทุกคนได้เรียนรู้ได้ ได้แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน นับเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งอีกเครือข่ายหนึ่ง
เครือข่ายที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการจุดประกายการเกิดและขยายเครือข่ายของพื้นที่ต่างๆไม่ว่าที่สกลนคร บุรีรัมย์ โคราช ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ และที่อื่นๆที่กำลังเกิดขึ้น
เครือข่ายแรกที่มีในท้องถิ่นชุมชนทางพูน คือเครือข่ายกลุ่มสวัสดิการกองทุนทางพูน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีบริหารจัดการ มีการพบปะกันทุกเดือน ตามแนวการออมทรัพย์ของกลุ่มออมทรัพย์จังหวัดสงขลา นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับกลุ่มออมทรัพย์อื่นๆ ในจังหวัดและต่างจังหวัด เกิดเป็นความสัมพันธ์เครือข่ายไปด้วย ซึ่งชุมชนทางพูน เป็นตำบลหนึ่งในตำบลทางพูนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะการใช้จ่ายในชีวิตในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินของทุกครัวเรือน โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ซึ่งเป็นเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการตำบลทางพูน ได้มีโครงการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ ซึ่งได้แก่ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาสภาพชุมชน การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และความต้องการของชุมชนในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ อันส่งผลกระทบทางด้านบวกต่อนักเรียน สอดรับกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 29 ซึ่งพบว่าชุมชนทางพูนเป็นชุมชนที่มีประชากรอาศัยไม่หนาแน่น ส่วนใหญ่มีพื้นที่ว่างในบริเวณบ้าน สภาพดินยังเหมาะแก่การเพาะปลูก แม้จะมีน้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน ก็ยังมีพื้นที่สำหรับใช้ในการปลูกพืชทดแทนการซื้อ ต้องการที่จะเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือนกันทุกครัวเรือน วิถีชีวิตทุกครัวเรือนจะพึ่งพาตนเองปรุงอาหารเพื่อปากท้องประจำวัน ฉะนั้นพืชผักสวนครัวที่บริโภคส่วนใหญ่จะพึ่งพาตลาดซื้อทุกอย่างที่บริโภค โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวมีการบริโภคเฉลี่ยครัวเรือนละ 10 – 30 บาทต่อวันต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมาชิกแต่ละครัวเรือน( ส้วงจิ้ว เพชรรัตน์, สัมภาษณ์ 27 กันยายน 2550) ในส่วนนักเรียนพบว่าหลังจากเลิกเรียน นักเรียนจะมีเวลาว่างค่อนข้างมากใช้เวลาส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง หรือไปเที่ยวบ้านเพื่อน
ที่กล่าวมาอาจสรุปได้ว่าปัญหาของชุมชนทางพูน คือมีการใช้จ่ายเรื่องพืชผักสวนครัวค่อนข้างสูง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ชุมชนทางพูนยังไม่มีการปลูกพืชผักจริงจัง ไม่มีการพูดคุยเรื่องการหาแนวทางสร้างเครือข่ายการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
โจทย์ในการวิจัยครั้งนี้จึงน่าจะอยู่ที่ว่า“จะสร้างเครือข่ายพืชผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคารอย่างไร?” ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้สร้างกระบวนการจัดเครือข่ายขึ้น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ได้มาพบปะพูดคุยกันในสามประเด็นหลัก คือสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องอาหารการกินของทุกครัวเรือนให้เกิดการพึ่งพาตนเอง ประเด็นที่สองแนวทางการจัดกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว และในประเด็นที่สาม แนวทางการสร้างเครือข่ายการปลูกพืชผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร คำตอบที่ได้จากการสนทนาทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องอาหารการกิน เกิดการพูดคุยแนวทางการจัดกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว เกิดเป็นเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ทำให้เกิดการลดรายจ่ายภายในครัวเรือนภายในชุมชนทางพูน
2. ชุมชนตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
จากการที่ผู้วิจัยเป็นครูโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531 และจากคำบอกเล่าของคุณยายเหี้ยงคุณตาโสภณ ศรีชัย ซึ่งเป็นตาและยายของผู้ปกครองนักเรียนและมีอาชีพเป็นนายหนังตะลุงซึ่งถือว่าเป็นปราชญ์ของชุมชนคนหนึ่ง รวมทั้งคำบอกเล่าของคุณย่าเหียม สุดฝ้าย ซึ่งอยู่ในชุมชนนี้มาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่รุ่นย่าได้เล่าว่าตำบลทางพูนเมื่อก่อนเรียกว่า ทางพล เนื่องจากสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีกองทัพช้างม้าเดินทัพผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งมีหลักฐานที่ปรากฎคือเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธในสมัยก่อนที่ชาวบ้านขุดพบมีตั้งแต่หอก ดาบ มีด และบางชนิดก็ไม่รู้จักแต่ทราบว่าเป็นอาวุธ สำหรับหมู่บ้านในตำบลทางพูนมีจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านสระเพลง หมู่ที่ 2 บ้านทางพูน หมู่ที่ 3 บ้านปากช่อง หมู่ที่ 4 บ้านโคกคราม หมู่ที่ 5 บ้านราษฎร์บำรุง และหมู่ที่ 6 บ้านศาลาฝาชี ความหนาแน่นเฉลี่ย 223.418 คน/ตารางกิโลเมตร พื้นที่แบ่งออกเป็นพื้นที่ที่เป็นเนินสันทรายซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 1 ,2 และ 6 ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ลุ่มรองรับเป็นพื้นที่พรุ ชาวบ้านใช้เป็นที่ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และประมงพื้นบ้าน ได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 5 การตั้งบ้านเรือนกระจายตัวตามพื้นที่โคกไม่หนาแน่น สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มป่าพรุซึ่งเมื่อก่อนเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีปลาชุกชุม มีนกมีลิงมีค่างมากมาย ตอนนี้ได้เสื่อมสภาพเปลี่ยนเป็นที่ราบลุ่ม ป่าหมดไป ปลาไม่มีเหมือนเมื่อก่อน นกลิงค่างเกือบไม่มีให้เห็น ชาวบ้านได้ใช้พื้นที่เหล่านี้ทำนาข้าว ปลูกถั่วเขียว แตงโม เลี้ยงวัวฝูง และได้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือ ปาล์ม สภาพดินบางส่วนเป็นดินเปรี้ยว ทำการเพาะปลูกได้ผลไม่มากนัก ส่วนหมู่ที่ 4 เป็นพื้นที่เนินทราย ขอบพรุทางทิศตะวันตกชุมชนอาศัยหนาแน่นพอสมควร อันเนื่องด้วยสภาพพื้นที่เหมาะในการเกษตรทั้งไม้ผล พืชไร่ และนาข้าว
ในชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนาข้าว ทำไร่นาสวนผสม ปลูกผัก เลี้ยงโค เลี้ยงหมู ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัว พืชผลทางการเกษตรอื่นจะผลิตในลักษณะแบบสวนครัว จะมีบางส่วนผลิตเพื่อการค้า เช่น การปลูกแตงโม แตงกวาและผักต่างๆ อาชีพรอง ลงมาคือ การรับจ้างทำการเกษตรและรับจ้างทั่วไป สภาพชุมชนมีรายได้น้อยค่อนข้างยากจน เพื่อการอยู่รอดของครอบครัวบางครัวเรือนต้องไปหางานในต่างถิ่น ประกอบกับในปัจจุบันภาวะค่าครองชีพได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รายได้จึงไม่ค่อยพอกับรายจ่าย โดยเฉพาะต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้น จึงทำให้การผลิตเพื่อขายไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อย ความสัมพันธ์ของชุมชนทางพูนเป็นความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ความเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม ยังมีศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมหล่อหลอมผูกร้อยใจชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว มีความสามัคคี มีวิถีชีวิตพึ่งพาตนเอง และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แม้บางส่วนจะลดลงหรือ ถูกแทนที่ หรือสูญหายไปบ้าง แต่ชุมชนยังมีความรัก มีความสามัคคี พร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมในกิจกรรมทุกด้านของชุมชน และมีความภาคภูมิใจในในท้องถิ่นของตนเอง มีการรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หลายกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโค กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงหมู กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสตรี โดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงโคค่อนข้างเป็นล่ำเป็นสันมีจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตนเองก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ซึ่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต 1 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาในเขตพื้นที่ให้บริการของตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเอาแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 29 ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสารเพื่อพัฒนาชุมชนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542) วิเคราะห์สภาพชุมชนและท้องถิ่น ศึกษาดูว่าสภาพชุมชนเป็นอย่างไร มีปัญหาและความต้องการอะไร เริ่มจากการสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการและความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาชุมชน รวมถึงการสำรวจทรัพยากรที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาควบคู่กันไปด้วย จากนั้นรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ จัดการประชุม อบรม สัมมนาผู้นำชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาชุมชนร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนมีความมั่นใจในตนเอง สามารถตัดสินใจและวางแผนได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน มีวิธีการในการวางแผนและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของตนเอง สนับสนุนให้เอาชนะอุปสรรคก่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำด้วยตนเอง และรางวัลความสำเร็จที่ประชาชนได้รับคือการส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งจากหลักการดังกล่าวจะทำให้ชุมชนเกิดนวัตกรรมทางสังคมให้ชุมชนเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชนได้

3. การร่วมคิด ร่วมสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
การร่วมคิด ร่วมสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยจัดเวทีร่วมกันระหว่าง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนชนิดพืชผักที่จะปลูก ช่วยกันจัดลำดับความสำคัญพืชผักที่ใช้ประจำวัน และต่างก็ไปปฏิบัติที่บ้านของตนเอง โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งเกิดจากครูที่ปรึกษาได้ออกเยี่ยมบ้านในรอบแรกพูดคุยกับผู้ปกครองและนักเรียนทั้ง 14 ครัวเรือน ซึ่งต้องการนักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระครอบครัว ภายในครัวเรือนได้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ขณะเดียวกันยังเพิ่มความสัมพันธ์ภายในครัวเรือนอีกทางหนึ่งด้วย โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงให้เกิดการรวมคน เพื่อพูดคุยถึงแนวทางการพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันพึ่งพาตนเอง และผู้ปกครองต่างก็ได้มีความรู้จักใกล้ชิดกันทั้ง 14 ครัวเรือน โดยใช้กระบวนร่วมกันคิด ร่วมกันปฏิบัติระหว่าง ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ใช้การขับเคลื่อนสร้างเครือข่ายด้วยการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการส่งเสริมให้ชุมชนมีความรักและมีการเรียนรู้ในการปลูกพืชผักสวนครัว และสร้างความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในรูปแบบของประชาคมจัดเวทีเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเวทีทุกคนแสดงความคิดเห็น รับฟังรู้สึกเป็นเจ้าของ และหาข้อสรุปร่วมกัน เป็นการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่สมาชิกมีอยู่ มาช่วยกันกำหนดวิธีการร่วมในการแสวงหาแนวทาง ให้ข้อคิดเห็น วิธีการสำคัญที่จะทำให้บรรลุอุดมการณ์ร่วมนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง พัฒนาคุณภาพชีวิตและหาเหตุผลเพื่อจัดลำดับความสำคัญตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม และนำไปสู่การสร้างแนวทางปฏิบัติของแต่ละครัวเรือน ตามลำดับดังนี้
ประเด็นแรกที่ได้นำมาพูดคุยในการวิจัยครั้งนี้ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมโดยครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ซึ่งได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2550 โดยผู้วิจัยได้เป็นแกนนำสนทนา ร่วมกันศึกษาสภาพของชุมชนทางพูน สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องอาหารการกินของทุกครัวเรือน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เน้นการยอมรับและความเข้าใจบุคคล เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรขึ้นจากการพูดคุยในเรื่องเดียวกัน ช่วยกันค้นหาศักยภาพของชุมชนและมองภาพการพัฒนาของแต่ละครอบครัวในการพูดคุยร่วมกัน
คุณสนั่น ชูสิน ได้พูดถึงว่า “ตนเองเป็นเกษตรกรต้องใช้เครื่องจักรไถนา ใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพงไม่ค่อยคุ้มกับการลงทุน ข้าวของเครื่องใช้ของกินก็แพง แพงทุกอย่าง แต่จะทำอย่างไรได้ถึงแพงก็ต้องจ่ายต้องซื้อ แต่ก็พยายามซื้อในสิ่งที่จำเป็น ถ้าได้มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง จะเป็นการดีมากๆ โดยเฉพาะลูกจะได้ฝึกให้เขาได้ทำงานเป็น มีใจรักการปลูกพืชผักตั้งแต่เด็กๆ”
คุณสมพร สุดฝ้าย ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและเป็นผู้ปกครองของนักเรียนได้กล่าวว่า “ผมเป็นคนทางพูนโดยกำเนิด พื้นที่และทรัพยากรของทางพูนยังมีมาก หากเราร่วมมือร่วมใจกันปลูกพืชผักสวนครัว องค์การบริหารตำบลทางพูนก็ยินดีสนับสนุน และจะนำเข้าสู่แผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วย ในยามข้าวยากหมากแพงคิดว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดในครัวเรือนได้”
คุณอำไพ แตงอ่อน บอกว่า “เดี๋ยวนี้พืชผักแพงมากๆ เมื่อก่อนไปจ่ายตลาดสามารถซื้อผักได้กำละ 5 บาท เดี๋ยวนี้ขึ้นราคา เป็นกำละ 7 บาท บางอย่างเพิ่มปริมาณนิดเดียวแล้วขายกำละ 10 บาท จริงๆแล้วพืชผักเหล่านี้สามารถที่จะปลูกได้เองทั้งสิ้น แต่เราไม่คิดจะปลูกเท่านั้นเอง ” คุณสุชาติ พัสดุสาร กล่าวว่า “ตอนนี้จะใช้จะจ่ายอะไรต้องคิดก่อนใช้ก่อนจ่าย จะซื้ออะไรสักอย่างต้องคิดก่อนทุกครั้ง ของแพงไม่ต้องไปสนใจเพราะไม่มีตังค์ซื้อ ถ้าทำเองได้ก็ทำเอง อย่างพืชผักเราน่าจะคิดร่วมกันปลูกตั้งนานแล้ว”
คุณสมโชค หยูทองอ่อน กล่าวว่า “ถ้าเราพิจารณาหรือคิดให้ดีๆทางพูนเป็นพื้นที่ที่มีทรัพย์ในดิน สินในน้ำอยู่แล้ว มีข้าวในดิน มีปลาที่สามารถหากินได้ตลอดทั้งปี ถ้าพวกเราจะมาปลูกพืชผักสวนครัวกันให้ทุกบ้านเราก็สามารถลดรายจ่ายลงได้ บ้านใครมีพื้นที่มากก็ปลูกในดิน บ้านใครมีพื้นที่น้อยหรือไม่มีพื้นที่ก็ปลูกในภาชนะ ตอนนี้ที่บ้านก็จะปลูกเกือบทุกอย่างที่กิน มะละกอ มะพร้าว มะม่วง มะนาว พริก ตะไคร้ ใบมะกรูด ถั่ว แตง ปลูกมาตั้งแต่สมัยพ่อแม่ของผม จำความได้ก็ปลูกพืชผักแล้ว ที่บ้านจะซื้อแต่น้ำปลา น้ำตาล หรืออย่างอื่นเล็กๆน้อยๆ ของขึ้นก็ขึ้นไป ไม่ได้เดือดร้อน ถ้ายังมีดิน มีน้ำ ถ้าขยันทำ ขยันเก็บก็ไม่เดือดร้อนแน่ ผมจึงเห็นด้วยที่ทุกครัวเรือนจะได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินกันในครอบครัว เหลือก็แจกก็ขาย แล้วจะประหยัดไปได้เยอะ ผมเห็นด้วย”
ประเด็นต่อไปที่ได้ร่วมกันพูดคุยคือแนวทางการจัดกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว สมาชิกผู้ร่วมเวทีร่วมกันคิดวิเคราะห์ แนวทางการจัดกิจกรรมโดยช่วยกันคิดว่าในชุมชนทางพูนน่าจะปลูกพืชผักสวนครัวใดบ้างที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพดิน ปลูกแล้วเจริญโตได้ดี และเป็นที่นิยมกินนิยมใช้
คุณอำไพ แตงอ่อน ซึ่งเป็นแม่บ้านและเป็นผู้ปกครองนักเรียน ได้กล่าวว่า “พื้นที่ทางพูนดินเหมาะในการปลูกพืชผักเกือบทุกอย่าง ยกเว้นบางพื้นที่เช่นในหมู่ที่ 3 มีสภาพเป็นดินเปรี้ยว น้ำเปรี้ยว ก็ปลูกในภาชนะเสีย จริงๆการปลูกพืชผักทุกครัวเรือนก็ปลูกกันเป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนมากปลูกเล็กๆน้อยๆ ไม่ค่อยได้เรื่องได้ราว ขึ้นไม่ขึ้นก็ไม่เป็นไร เรียกว่า “ฝากดิน”กันมากกว่า แล้วพวกเราส่วนใหญ่ก็ต่างคนต่างปลูก ไม่ได้มารวมตัวมาพูดคุยเหมือนวันนี้ ต่อไปถ้าได้มีการพูดคุย ได้มาแลกเปลี่ยนกันคิดว่าการปลูกพืชผักของพวกเราจะดีขึ้นแน่” คุณสนั่น ชูสิน ได้กล่าวว่า “ที่บ้านน้ำท่วมบ่อย จะปลูกในกระสอบปุ๋ย น้ำจะได้ไม่ท่วม” ซึ่งคุณจุรี ดำแจ่ม บอกว่า “ที่บ้านน้ำท่วมเช่นกัน ก็จะปลูกในกระสอบปุ๋ยด้วย” คุณสมพร สุดฝ้าย บอกว่า “ที่บ้านพื้นที่ว่างมากจะปลูกโดยยกเป็นร่อง ก็ใช้ได้แล้วเอาปุ๋ยมาใส่ก่อนปลูกก็ปลูกได้แล้วที่บ้านก็ปลูกมากเหมือนบ้านคุณสมโชค หยูทองอ่อน ผักต่างๆปลูกมาตั้งแต่สมัยแม่ของผม”
คุณสมศรี ทองพลับ กล่าวเสริมว่า “ที่บ้านได้เอาน้ำล้างปลารดผักสวนครัวที่ปลูกไว้บ้างแล้วคือมะกรูด ตะไคร้ พริก น้ำล้างปลาทำให้พืชผักสวยงามได้”
คุณสมพร สุดฝ้าย ได้สรุปว่า “กิจกรรมที่พวกเราตกลงร่วมทำคือการปลูกผักสวนครัว โดยมีเป้าหมายเพื่อบริโภคในครัวเรือน จุดประสงค์เพื่อการลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยมีผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการปลูก ฉะนั้นน่าจะคิดกันว่าผักสวนครัวที่จะปลูก เราจะปลูกคนละกี่ชนิด ปลูกอย่างไร”
คุณสมโชค หยูทองอ่อน เสนอว่า “น่าจะมีการปลูกอย่างน้อยคนละ 5 ชนิด ใครจะปลูกให้มากว่านั้นก็เป็นการดี ส่วนใครจะปลูกอะไรนั้น แล้วแต่ความต้องการของแต่ละครัวเรือน ใครมีที่ว่างในครัวเรือนตรงไหนก็ปลูกตรงนั้ อาจจะปลูกในพื้นที่ว่าง หรือปลูกในกระถางก็แล้วแต่สภาพของพื้นที่ ที่บ้านมีพันธุ์ถั่วพูอยู่ค่อนข้างมาก จะฝากมากับลูกมาให้คุณครูได้ประสานแจกจ่ายให้กับทุกครัวเรือน”
คุณสมพร สุดฝ้าย ได้กล่าวว่า “จะประสานกับเกษตรอำเภอในเรื่องพันธุ์ผักอื่นๆแล้วจะมอบให้ทุกครัวเรือน”
นางจุรี ดำแจ่ม ได้กล่าวว่า “ที่บ้านเลี้ยงวัวไว้หลายตัว มีปุ๋ยคอกค่อนข้างเยอะถ้าใครต้องการก็จะให้ แต่ต้องไปเอาที่บ้านด้วยตัวเอง ยินดีให้กับสมาชิกทุกครัวเรือน”
คุณครูสุมณฑินี สมัครพงศ์ ซึ่งเป็นผู้วิจัยและผู้หนุนเสริมได้กล่าวว่า “เพื่อเป็นกำลังใจกับทุกครัวเรือน โดยเฉพาะนักเรียนจะมีการทำเกียรติบัตรมอบให้กับทุกครัวเรือนที่ร่วมปลูกพืชผักสวนครัวด้วย”
คุณสนั่น ชูสิน ได้เสนอว่า “ถ้าทำเกียรติบัตรแล้วก็ควรให้มีการประกวดพืชผักสวนครัวที่ปลูกด้วย โดยให้ผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้ช่วยกันตัดสิน ซึ่งใช้เวลาหลังที่ตกลงกันแล้วไปปลูกพืชผักสวนครัวอีก 2 เดือน จึงไปตัดสินผลพืชผักที่ปลูก” ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วย
ในช่วงสุดท้ายเป็นการสร้างแนวทางการสร้างเครือข่ายปลูกพืชผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร โดยสรุปว่าจะมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆและสรุปผลที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัวร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 1 มีนาคม 2551 และหลังจากนั้นจะมาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันทุกเดือน (เวทีชุมชน 27 ธันวาคม 2550 ณ โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร)

4. เครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
เครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ประกอบด้วย ครูผู้ให้การหนุนเสริมการสร้างเครือข่าย ร่วมกับผู้ปกครองและนักเรียนจำนวน 14 ครัวเรือน โดยร่วมกันแบ่งปันความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แบ่งปันพันธุ์ผัก ได้แบ่งปันปุ๋ยคอก แล้วดำเนินการจัดกิจกรรมของครัวเรือนก่อสานสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองกับผู้ปกครอง และนักเรียนกับนักเรียน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อเกิดเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยใช้กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคารเชื่อมโยงร้อยเป็นเครือข่าย ดังนี้
ครอบครัวที่ 1 ครอบครัวเด็กหญิงลีลาวดี เพชรรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 235/2 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ว่างในบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก พืชผักที่ร่วมกันปลูกได้แก่ ตะไคร้ พริกขี้หนู ข่า มะกรูด และมะนาว มะกรูด มะนาว ข่า และตะไคร้ ใช้วิธีปลูกลงบนแปลงปลูก ซึ่งแต่ละชนิดกำลังเจริญเติบโตและสวยงามพอสมควร ผู้ปกครองมีความเห็นว่าเมื่อสามารถเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์ได้จะสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ระยะยาว โดยเฉพาะมะนาว มะกรูด ข่า ตะไคร้ คิดว่าจะหาพันธุ์พืชสวนครัวอื่นมาปลูกเพิ่มเติม ได้ของสดๆได้บริโภค “ ถ้าไปตลาดซื้อพืชผักที่กำลังปลูกมาบริโภคอย่างน้อย ต้องใช้เงินประมาณ 25 บาท ถึงจะซื้อได้”
(ส้วงจิ้ว เพชรรัตน์, สัมภาษณ์ : 27 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 2 ครอบครัวของเด็กชายสมประสงค์ อินทร์สังข์ อยู่บ้านเลขที่ 752 หมู่ที่ 3 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกพืชผักขายอยู่ติดกับบ้าน พืชผักที่นักเรียนได้ปลูกเพิ่มเติม คือ ข่า ตะไคร้ มะกรูด โดยเพิ่มเติมข้างๆบริเวณที่ปลูกอยู่เดิม โดยการเอาดินผสมกับปุ๋ยคอกใส่ แล้วเอา ข่า ตะไคร้ มะกรูด ปลูกลงไป ดูแลรักษา รดน้ำ พรวนดิน หาปุ๋ยมาใส่เพิ่มเติม ปัญหาอุปสรรคที่พบ พริกขี้หนู ถั่วฝักยาว แตงกวา เคยเป็นโรคใบหงิกและตัวเพลี้ยลง คุณยายใช้วิธีละลายน้ำยาล้างจานให้เจือจางรดลงไป ซึ่งสามารถช่วยได้ระดับหนึ่ง “ส่วนข่า ตะไคร้ มะกรูด แม้จะปลูกไม่มากในระยะนี้แต่เมื่อได้รับผลผลิตจะสามารถลดรายจ่ายลงได้จริงๆ ช่วงนี้พืชผักทุกชนิดมีแต่ขึ้นราคา”(ศรีนวล สุขสาร , สัมภาษณ์ : 27 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 3 ครอบครัวเด็กหญิงสุลีมาศ แตงอ่อน อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปกติมีการเลี้ยงไก่และเป็ดไว้บริโภคในครัวเรือน พืชผักที่ปลูกไว้เดิม ได้แก่ ตะไคร้ พริกขี้หนู มะละกอ มะนาว โหรพา สิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนปลูกเพิ่มเติม ได้แก่ บวบ มะเขือ ถั่วพู ซึ่งนักเรียนได้ดูแลเอาใส่ใจเป็นอย่างดี ใส่ปุ๋ยคอกสม่ำเสมอ “ที่ปลูกอยู่เดิม เช่น ตะไคร้ พริกขี้หนู มะละกอ มะนาว ก็สามารถลดรายจ่ายลงได้มาก โดยเฉพาะพริกขี้หนู มะนาว ต้องใช้เกือบทุกวัน โหระพานอกจากช่วยชูรสชาติแล้วยังใช้เป็นผักเหนาะได้ด้วย ส่วนมะละกอ ก็สามารถเอาไปทำอาหารได้หลายอย่างด้วยกัน ต่อไปคิดว่าจะปลูกพืชผักเหล่านี้เพิ่มด้วย ในส่วนนักเรียนเขาก็จะผลัดกันมาดูแลของกันและกัน”(อำไพ แตงอ่อน , สัมภาษณ์ : 27 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 4 ครอบครัวเด็กชายอภิสิทธิ์ นุ่นเกิด อยู่บ้านเลขที่ 140/3 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พืชผักที่ปลูกได้แก่ ข่า โหรพา พริกขี้หนู ตะไคร้ ขมิ้น ได้ปลูกในภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว คือ ปิ๊ป และถังเก่าๆที่เหลือจากการให้อาหารหมู ใช้วิธีผสมปุ๋ยคอกกับดินปลูก พืชผักสวยงามดี ผู้ปกครองกล่าวว่า “ข้าวของที่ทุกอย่างสูงขึ้นในขณะนี้ การปลูกพืชผักสวนครัว จะทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้มาก ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ปลูกทุกครัวเรือน สำหรับที่บ้าน ต่อไปก็จะปลูกเพิ่ม และยังสะดวกในการเก็บมาใช้ทำอาหาร และนักเรียนได้ รู้จักรับผิดชอบ นับเป็นโครงการที่ดีมากๆ(อุไรวรรณ นุ่นเกิด , สัมภาษณ์ : 27 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 5 ครอบครัวเด็กหญิงศรัญญา ชูสิน อยู่บ้านเลขที่ 405 หมู่ที่ 4 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พืชผักที่ปลูกได้แก่ พริก โหรพา มะละกอ บวบ อ้อดิบ(คูน) โดยปลูกในกระสอบปุ๋ย เพราะจะมีน้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝนเป็นเวลานาน นักเรียนจะเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี จะรดน้ำทุกเช้าเย็น พรวนดิน และใส่ปุ๋ยเป็นระยะ เมื่อกลับจากโรงเรียนจะไปดูแลพืชผักของตนเองทุกวัน นักเรียนที่อยู่บ้านใกล้กันมาสอบถามและไปปลูกด้วย “คิดว่าการปลูกพืชผักสวนครัวของผู้ปกครองและนักเรียนในครั้งนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทำให้ นักเรียนได้รู้จักทำงาน รับผิดชอบ เขารู้สึกภาคภูมิใจในพืชผักของเขา เดี๋ยวนี้มะนาวลูกละ 2-3 บาทแล้ว แต่การปลูกลงทุนซื้อพันธุ์แค่ครั้งเดียวก็เก็บได้ยาวนาน ในขณะที่ปุ๋ยและพื้นที่ก็มีมาก โดยเฉพาะครอบครัวของตนเองมักจะไปหาปลาในพรุมาบริโภคและจำหน่ายอยู่แล้ว สมมุติว่าในหนึ่งวันทำกับข้าวครั้งเดียวแกง 2 อย่าง คือแกงส้มต้องมีเครื่องปรุงคิดเป็นราคาดังนี้ ขมิ้น 1 บาท พริกขี้หนู 3 บาท มะละกอ 5 บาท มะนาว 8 บาท แกงต้มส้ม ตะไคร้ 2 บาท ขมิ้น 1 บาท ถ้าปลูกพืชผักไว้บริโภคจะลดรายจ่ายลงได้อย่างน้อย 30 บาทในหนึ่งวันถ้าหนึ่งปีจะลดรายจ่ายลงได้มากทีเดียว”(สนั่น ชูสิน, สัมภาษณ์ : 27 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 6 ครอบครัวเด็กชายสมชาย สุดฝ้าย อยู่บ้านเลขที่ 323 หมู่ที่ 4 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาชีพทำนา ทำสวน(ยางพารา ,ปาล์ม) และเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ปกติที่บ้านนี้จะมีพืชผักสวนครัวอยู่แล้วหลายชนิดเช่น มะละกอ ใบเล็บครุฑ ต้นธัมมัง ตะไคร้ ใบมะกรูด กล้วย ใบชะมวง มะนาว ชะพลู หยวกกล้วย ตำลึง ชะพลู มะขาม ข่า พริกขี้หนู เนื่องจากมีบริเวณกว้างขวาง และคุณย่าเหียม สุดฝ้ายเป็นคนชอบปลูกทุกอย่างที่กินได้ ในส่วนที่ปลูกเพิ่มเติมร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนในช่วงนี้ได้แก่ ถั่วพู บวบ ฟักเขียว ฟักทอง แตงกวา โดยมีคุณย่าเป็นคนช่วยแนะนำการปลูกให้นักเรียน(หลาน) นักเรียนจะขุดหลุม หาปุ๋ยมาใส่และรดน้ำ พรวนดิน ทำให้พืชผักค่อนข้างสวยงาม โดยผู้ปกครองมีความเห็นว่า “เป็นการเริ่มต้นที่ดี ควรให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการปลูกทุกบ้าน เพราะจะทำให้ลดรายจ่ายลงได้ ทำให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบ ช่วยทำงานผู้ปกครอง ใช้ชีวิตของตนเองให้เกิดประโยชน์ ควรมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง”(สมพร สุดฝ้าย, , สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551) “โดยเฉพาะที่บ้านจะทำอาหารในแต่ละวันเต็มหม้อใหญ่ๆทุกวัน จึงมีการปลูกพืชผักทุกอย่างที่บ้านถ้าประมาณเป็นค่าใช้จ่ายคิดว่าสามารถลดรายจ่ายไม่ต่ำกว่า 50 ขึ้นไปต่อหนึ่งวัน”(คุณยายเหียม สุดฝ้าย, สัมภาษณ์ : 27 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 7 ครอบครัวเด็กชายสมศักดิ์ ดำแจ่ม อยู่บ้านเลขที่ 332/4 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมักประสบปัญหาน้ำท่วมขัง เป็นเวลานานทุกปี จึงได้ปลูกไว้ริมคอกซึ่งยกพื้นไว้สูง ใช้วิธีการปลูกในกระสอบปุ๋ยเคมี และปิ๊ป ได้ปลูกพริกขี้หนูไว้หลายกระสอบ โหรพา กระเพรา ข่า ทือ ตะไคร้ พืชผักขึ้นงดงามดีมาก เนื่องจากดินดี ตั้งอยู่ใกล้คอกวัว จากคำบอกเล่าของผู้ปกครอง นักเรียนจะเอาใจใส่ดีมาก “ทุกเย็นจะต้องดูแลพืชผักสวนครัวทุกวัน พริกขี้หนูเริ่มจะออกดอก ส่วนโหระพาและกระเพรา สามารถเก็บได้แล้ว มีเพื่อนบ้านมาสอบถาม และพบว่าปลูกพริกขี้หนู โหรพา กระเพรา ตะไคร้ สวยงาม เพื่อนบ้านจึงขอกระสอบปุ๋ย และปุ๋ยคอกไปปลูกด้วย นักเรียนก็มีความรับผิดชอบมากขึ้นและผู้ปกครองยังเสริมอีกว่า “เขารู้สึกมีความสุขที่เห็นพืชผักเขาเจริญเติบโตสวยงาม” และเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนได้จริงๆ(นางจุรี ดำแจ่ม,สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551) ครอบครัวที่ 8 ครอบครัวเด็กชายวิชิต พัสดุสาร อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพิ่งเริ่มปลูกตอนที่ได้ร่วมประชุม พืชผักที่ปลูกได้แก่ ตำลึง มะนาว มะเขือ ตะไคร้ สภาพดินเป็นเดินเหนียวจัด จึงต้องใส่ปุ๋ยค่อนข้างมาก พืชผักไม่งดงามเท่าที่ควร เนื่องจากบริเวณบ้านไม่มีต้นไม้อื่นเลย จึงแนะนำให้นักเรียนปลูกในภาชนะอื่นๆ นักเรียนจะเป็นผู้ลงมือปลูกเอง ผู้ปกครองบอกให้รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ต่อไปคิดจะปลูกเพิ่ม เพราะเห็นของเพื่อนปลูกแล้วสวยๆ โดยนักเรียนได้บอกว่า “ถึงแม้พืชผักไม่สวยมากนักแต่ก็มีความภูมิใจที่ได้มีผักสวนครัวเป็นของตนเอง” (วิชิต พัสดุสาร , สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 9 ครอบครัวเด็กชายวิษณุ ศรีจระ อยู่บ้านเลขที่ 129/1 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พืชผักที่ปลูกได้แก่ มะเขือ ข่า ตะไคร้ โดยเฉพาะข่าจะปลูกไว้ประมาณ 20 กว่าหลุม ผู้ปกครองบอกว่าปลูกไว้เพื่อขุดไปขายด้วย นักเรียนจะรดน้ำหลังจากเลิกเรียนทุกวัน โดยผู้ปกครองจะช่วยพรวนดินและใส่ปุ๋ย คิดว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก นักเรียนจะได้เกิดความรับผิดชอบ เหลือจากกิน ก็จะนำไปขาย “ถ้าพืชพืชผักเหล่านี้ขายได้เท่าไร เงินที่ขายได้จะให้นักเรียนทั้งหมด ทำให้นักเรียนมีกำลังใจในการดูแลรักษา ต่อไปจะชอบและมีประสบการณ์ความรู้การปลูกพืชผักเป็นอย่างดี แค่ฝึกให้ลูกได้รู้จักทำงานก็ภูมิใจแล้ว” (จ้วน ศรีจระ, , สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 10 ครอบครัวเด็กชายอโณทัย บุญยะพาหุอยู่บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พืชผักที่ปลูกได้แก่ ตะไคร้ ข่า ทือ มะละกอ มะนาว โดยปลูกไว้ริมรั้ว มีคุณแม่เป็นคนช่วยปลูกช่วยดูแล ใช้วิธีขุดหลุม ใส่ปุ๋ย ลงมือปลูก รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยบ้าง และเห็นว่าดี ทำให้สะดวกในการใช้จะนำมาปรุงอาหารและคิดว่าเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนได้แน่นอน(ชะอ้อน ทองนวล, สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 11 ครอบครัวเด็กชายสมชาย ปานแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พืชผักที่ปลูกได้แก่ มะนาว มะละกอ มะกรูด ข่า ตะไคร้ โดยปลูกไว้ริมชายครัว ทำให้ไม่ขาดน้ำ พืชผักสวยงาม ดูแลรักษาด้วยการรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เอาน้ำที่ล้างข้าวสาร หรือน้ำที่ล้างปลาไปรดพืชผัก ซึ่งผู้ปกครองเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี “คิดว่าจะปลูกพืชผักสวนครัวต่อไปเรื่อยๆ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์หลายอย่างและไม่เป็นภาระที่หนักเกินไป และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนวันละหลายบาท” (เจริญ ปานแก้ว, สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 12 ครอบครัวของเด็กชาย อภิสิทธิ์ หยู่ทองอ่อน อยู่บ้านเลขที่ 56/2 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในบริเวณบ้านจะมีพืชผักสวนครัวเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักที่ใช้ประกอบอาหาร เช่น มะละกอ บวบ มะระ ถั่วฝักยาว มะพร้าว มะนาว คูณ ผักที่เป็นเครื่องชูรส เช่น มะกรูด ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ และผักเหนาะ เช่น สะตอเบา หมฺรุ่ย ผักบุ้ง มะระขี้นก แตงกวา และไม้ผลอื่นๆ ได้แก่ ชมพู น้อยหน่า มะม่วง กล้วย มะเฟือง โดยเฉพาะบวบ มะระ ถั่วฝักยาว และแตงกวา เหลือกินก็นำไปจำหน่ายด้วย โดยทุกตอนเย็นนักเรียนจะมีหน้าที่ รดน้ำ ดูวัชพืช และใส่ปุ๋ยเป็นระยะๆ โดยคุณย่าเอี้ยน บอกว่า “ ที่สร้างฐานะเป็นปึกแผ่นมาได้ทุกวันนี้ เนื่องจากเป็นคนขยันทั้งตายายและตกมาถึงลูกหลาน ลูกๆหลานๆก็ขยันทุกคน คนขยันจะไม่อดแน่นอน” การที่คุณตาคุณยายแข็งแรงมาจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะได้ออกกำลังกายได้ปลูกโน้นนั่นอยู่เรื่อย เป็นตัวอย่างไว้ลูกๆหลานๆ ได้รู้จักทำมาหากินด้วย “เดี๋ยวนี้ผักที่ตลาดเต็มไปด้วยสารเคมี ถ้าเห็นว่าเริ่มมีแมลงมาเจาะ จะใช้ยาเส้นละลายน้ำแล้วฉีดพ่น แมลงก็จะหายไป ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อซึ่งในแต่วันจะสามารถลดรายจ่ายได้ค่อนข้างมากทีเดียว โดยเฉพาะที่บ้านได้ปลูกพืชผักสวนครัวมาตลอดเพราะเป็นสิ่งที่ลดรายจ่ายได้โดยเฉพาะยิ่งในปัจจุบันพืชผักยิ่งแพงยิ่งลดรายจ่ายได้มากขึ้น”(เอี้ยน หยู่ทองอ่อนและพวง หยู่ทองอ่อน, , สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 13 ครอบครัวเด็กชายศราวุฒิ บุญญะ อยู่บ้านเลขที่ 126 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พืชผักที่ปลูกได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกขี้หนู มะละกอ เนื่องจากการเลี้ยงเป็ดและไก่ด้วย จึงเอาตาข่ายมาล้อมและปลูกในบริเวณตาข่าย รดน้ำ ใส่ปุ๋ยและพรวนดิน ปัญหาและอุปสรรคที่พบ เนื่องจากดินไม่สมบูรณ์ทำให้พืชผักที่ปลูกไม่สวยงาม แต่นักเรียนก็ภูมิใจและรู้สึกเป็นสุขกับพืชผักของตนเอง(สมศรี ทองพลับ, สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ครอบครัวที่ 14 ครอบครัวเด็กหญิงมนทิชา อุไรกุล อยู่บ้านเลขที่ 136/3 หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช คุณตาโสภณคุณยายเหี้ยงและนักเรียนได้ปลูก พริกขี้หนู จำนวน 20 หลุม แตงกวา 10 หลุม บวบ 10 หลุม เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่สูงและดินเป็นดินร่วนค่อนข้างดี พืชผักสวนครัวจึงสวยงาม มีคุณตาและคุณยายช่วยดูแลด้วยเหตุผลที่ปลูกมาก คิดว่านอกจากได้บริโภคในครัวเรือนแล้วสามารถเหลือก็จะนำไปจำหน่ายด้วย “คิดว่าจะปลูกผักสวนครัวต่อไป อาจจะไม่ทุกชนิดเพราะพื้นที่มีจำกัด แต่ก็รู้สึกภูมิใจที่ได้ปลูก เป็นการช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนเล็กๆน้อยๆ ตอนนี้กำลังหากิ่งพันธุ์มะนาวมาเพิ่ม ปัจจุบันมะนาวมีราคาแพงและใช้บ่อยจะได้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้น ที่สำคัญนักเรียนได้มีความรับผิดชอบ เมื่อมาถึงตอนเย็นก็จะไปดูแปลงผัก เขารู้สึกภูมิใจในผลงาน เขาจะชวนเพื่อนไปนั่งดูแปลงผักเป็นประจำ ทำให้เขารู้คุณค่าของการประหยัดอดออม เมื่อโตขึ้นจะได้ปลูกผักกินเป็นนิสัย ไม่ต้องไปซื้อไปหา จะสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนหรือค่าครองชีพได้อย่างยั่งยืน”(โสภณ ศรีชัยและเหี้ยง ศรีชัย,สัมภาษณ์ : 28 กุมภาพันธ์ 2551)
5. สรุปผลการสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

จากการร่วมสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ได้ใช้กระบวนการรวมคน ร่วมคิด ร่วมวางแผน แล้วแยกกันไปทำ ต่างก็ได้รับผลประโยชน์ และสิ่งคาดหวังที่เป็นผลตามมาคือการทำให้ผู้ปกครองมีความรู้สึกที่ดีกับโรงเรียน ครู ที่สามารถสร้างนักเรียนได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ปกครอง และได้เกิดกระบวนเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนในฐานะคนบ้านเดียวกัน มีลูกเรียนโรงเรียนเดียวกัน และมีครูที่ปรึกษาคนเดียวกันเป็น “ศูนย์รวมใจ”เกิดขึ้น ตามแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งผู้ปกครองและนักเรียนได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ได้ทำกิจกรรมที่เกิดจากการร่วมคิดของชุมชนเองนั่นคือการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในแต่ละครัวเรือน โดยทุกครอบครัวรวมตัวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ ไปจนถึงร่วมกันแสวงหาทางเลือกให้กับตนเองที่ดีกว่า เกิดเป็นการร่วมสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้น
ผลที่ได้จากการวิจัยพัฒนาชุมชน การสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆได้ ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน และทำให้เกิดเครือข่ายผู้ปกครองของชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคารขึ้น จากการจัดเวทีนักเรียนและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันคิด เลือกสรรชนิดของพืชผักสวนครัวที่เหมาะสมในการเพาะปลูก และสอดคล้องกับการบริโภค ต่างมีความกระตือรือร้นในการคิดค้น แสดงความเห็น รับฟัง รู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ หาข้อสรุปร่วมกัน และนำไปสู่การสร้างแนวทางการปฏิบัติ มีบรรยากาศที่เป็นมิตร เอื้ออาทร และจากการลงภาคสนามไปเยี่ยมบ้าน ผู้ปกครองได้พูดถึงปัญหาอุปสรรคในการปลูกพืชผัก เช่นพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยว พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม แต่ต่างก็พยายามให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นลูกเป็นอย่างดีเต็มใจ นักเรียนก็ได้ร่วมกันทำกิจกรรมการได้ปลูกพืชผักสวนครัวทุกครัวเรือน มีการพูดคุยกันในหมู่นักเรียนด้วยกัน เขารู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นพืชผักของเขาขึ้นสวยงาม ส่วนที่ขึ้นไม่สวยงามก็พยายามปลูกเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้อวดเพื่อนๆ บางคนก็นำผลผลิตที่ได้มาให้ผู้วิจัยดู และบางครัวเรือนก็ได้ใช้กลวิธีที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังก็ใช้วิธีปลูกในกระสอบปุ๋ย ปลูกในวัสดุเหลือใช้ ปลูกไว้เนินสูงริมคอกวัว การเอาตาข่ายกั้นกันเป็ดไก่เข้าไปจิกกิน การใช้ภูมิปัญญาความเชื่อมาใช้ในการดูแลพืชผักของตนเอง เช่นการดพืชผักด้วยน้ำล้างปลาที่เชื่อว่าทำให้พืชผักสวยงาม การใช้ยาเส้นละลายน้ำรดพืชผักไล่หนอนเป็นต้น และเกือบทุกครัวเรือนพืชผักที่ปลูกก็ให้ผลดี สามารถใช้บริโภคในครัวเรือนเหลือกินนำแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน บางครัวเรือนปลูกเหลือก็จะนำไปจำหน่ายในตลาดได้บ้าง
ผลสรุปที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัวสิ่งที่ยืนยันตรงกันคือทุกครัวเรือนได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน และนอกจากนั้นทำให้ได้มีผักสดไว้กินเองที่บ้าน มีความสะดวก จะเก็บจะกินเมื่อไรก็ได้ ไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงเจือปน สำหรับนักเรียนจะสร้างนิสัยรับผิดชอบการทำงานให้กับนักเรียน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความรับผิดชอบและได้เรียนรู้การปลูกผักสวนครัวจากการปฏิบัติจริง เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง รู้จักเรียนรู้การพึ่งตนเอง ทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น พืชผักที่ปลูกเหลือกินเหลือใช้สามารถแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้องหรือนำไปจำหน่ายได้ และเป็นตัวอย่างให้กับครอบครัวอื่นๆ ปัญหาอุปสรรคที่ค้นพบ จากการสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร พบว่าผู้ปกครองและนักเรียนยังขาดความรู้ในเรื่องการจัดการดินให้มีคุณภาพ การจัดการน้ำในระดับเพียงพอสำหรับพืชผัก และวิธีการปลูก การดูแลบำรุงรักษาพืชผักที่ถูกต้องให้ได้คุณภาพ และสภาพพื้นที่บางพื้นที่เป็นดินเปรี้ยว บางพื้นที่น้ำท่วมขังจะต้องดำเนินการอย่างสอดคล้องกับพื้นที่
6. การอภิปรายผลการสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
การสร้างเครือข่ายผักสวนครัวชุมชนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวทางหนึ่งในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ของครอบครัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรในชุมชนโดยคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชน ให้ชุมชนได้คิดวางแผน และตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง ซึ่งเครือข่ายได้ช่วยกันหนุนเสริม สามารถลดการอพยพเข้าสู่เมืองเพื่อหางานทำได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับชุมชนทางพูน กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบริบทภูมิปัญญาและทรัพยากรภายในชุมชน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับความจำเป็นของชุมชน หากได้มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยการเริ่มต้นที่การสร้างฐานครอบครัวที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลในชุมชนด้วยกัน การพัฒนาก็จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ที่เข้มแข็งและยั่งยืนบนพื้นฐานของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นก้าวเดินก้าวใหม่ของชุมชนท้องถิ่นที่มั่นคงเพื่อความอยู่ดีกินดี สร้างความสุขที่ยั่งยืนของชุมชนไทย
7.ข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบาย รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐระดับท้องถิ่นควรจัดทำเป็นนโยบาย มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีหลักสูตรท้องถิ่นในเรื่องพืชผักสวนครัวที่จำเป็นกับชีวิตประจำวันและสนับสนุนให้นักเรียนปลูกพืชผักสวนครัวที่บ้านทุกครัวเรือนเพื่อการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายของครัวเรือน ให้เป็นครอบครัวอยู่ดีมีสุขทั้งระดับชุมชนและระดับประเทศ และควรสนับสนุนให้เกิดการแลกปลี่ยนเรียนรู้วิธีปลูก การจัดการดิน น้ำ เพื่อการปลูกพืชผักสวนครัวที่จำเป็นให้ได้ผลดี
ต่อชุมชน สถานศึกษาควรจัดการศึกษาดูงานครู ผู้ปกครอง ดูงานชุมชนหรือกลุ่มการปลูกพืชผักสวนครัวที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ให้เกิดความรู้ เทคนิค วิธีการใหม่ๆ มาปรับปรุงพัฒนาการปลูกพืชผักสวนครัว และควรขยายผลการปลูกพืชผักสวนครัวที่จำเป็นในวิถีชีวิตของชุมชนสู่ครัวเรือนนักเรียนทุกคน

เอกสารอ้างอิง
กาญจนา แก้วเทพ.(2540), ภาพรวมของการพัฒนาชุมชน,ในองค์กรชุมชน : กลไกเพื่อ การแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.
โกวิทย์ พวงงาม และคณะ. (2540), การพัฒนาชุมชนและการบริหารงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหนคร : บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.
ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์. (2547), การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร
มิสเตอร์กอปปี้.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. (2544), ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : บุญศรีการพิมพ์.
จุฑาทิพย์ ภัทราวาท และคณะ. (2547), แนวทางพัฒนาเครือข่ายกลุ่ม/องค์กรประชาชน ในพื้นที่จังหวัด. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. (ม.ป.ป), เอกสารงานวิจัยเรื่อง “ชนิดของเครือข่ายสังคม”. ซึ่ง เป็นงานวิจัยได้รับการสนับสนุนการวิจัย.
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. (ม.ป.ป), เอกสารงานวิจัยเรื่อง “ทุนทางสังคม : ทรัพยากร เครือข่ายของครัวเรือน ในลุ่มน้ำชี ”. ซึ่งเป็นงานวิจัยได้รับการสนับสนุนการ วิจัย.
ปฏิรูปการศึกษา,สำนักงาน. (2545), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวานกราฟ ฟิค.
วิรัช วิรัสนิภาวรรณ. ( 2529), หลักการพัฒนาชุมชนบทบาทของสถานศึกษากับการ พัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2548), เครือข่ายยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง.กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
เสรี พงศ์พิศ. (2548), เครือข่ายยุทธศาสตร์เพื่อประชาคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

บุคลานุกรม
จ้วน ศรีจระ อยู่บ้านเลขที่ 129/1 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
เจริญ ปานแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
จุรี ดำแจ่ม อยู่บ้านเลขที่ 332/4 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
ชะอ้อน ทองนวล อยู่บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
พวง หยู่ทองอ่อน อยู่บ้านเลขที่ 56/2 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิชิต พัสดุสาร อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
ศรีนวล สุขสาร อยู่บ้านเลขที่ 752 หมู่ที่ 3 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สมโชค หยู่ทองอ่อน อยู่บ้านเลขที่ 56/2 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สมพร สุดฝ้าย อยู่บ้านเลขที่ 323 หมู่ที่ 4 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
สมศรี ทองพลับ อยู่บ้านเลขที่ 126 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ส้วงจิ้ว เพชรรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 235/2 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สนั่น ชูสิน อยู่บ้านเลขที่ 405 หมู่ที่ 4 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
โสภณ ศรีชัย อยู่บ้านเลขที่ 136/3 หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช
เหียม สุดฝ้าย อยู่บ้านเลขที่ 323 หมู่ที่ 4 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
เหี้ยง ศรีชัย อยู่บ้านเลขที่ 136/3 หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช
เหียม สุดฝ้าย อยู่บ้านเลขที่ 323 หมู่ที่ 4 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
อำไพ แตงอ่อน อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครศรีธรรมราช
อุไรวรรณ นุ่นเกิด อยู่บ้านเลขที่ 140/3 หมู่ที่ 2 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
เอี้ยน หยู่ทองอ่อน อยู่บ้านเลขที่ 56/2 หมู่ที่ 6 ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช













วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่ต้องเตรียมในวันศึกษาดูงาน

วันนี้(๗/มี.ค./๒๕๕๑ )ไปเซอร์เวย์เส้นทางศึกษาดูงานที่อำเภอชะอวดในวันที่ ๘-๙ มีนาคม ๒๕๕๑ มีเรื่องแจ้งด่วนโดยเฉพาะนักศึกษาผู้หญิงต้องเตรียม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ขันนำ ผ้าถุง(๒ ผืน) ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ เพราะพวกเราจะต้องอาบนำดูแสงจันทร์ และนอนรวมกันในห้องทั้งหมดหรือเต็นท์(โปโมชั่นให้เลือก)ที่ห้วยนำใส ธรรมชาติสวยมากๆสวิสเมืองไทย ; และในวันอาทิตย์ควรจะแต่งกายให้เหมาะกับการเดินป่า ปีนเขา ลอดถำ โดยเฉพาะรองเท้าควรจะเป็นผ้าใบ(สูงสูงห้ามเด็ดขาด) นะจ๊ะ นะจ๊ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

เรื่องวิจัยของนักศึกษาสุมณฑินี สมัครพงศ์

การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน : กรณีศึกษา โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-7 ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวในอัตราสูงแต่การเติบโตดังกล่าวต้องแลกด้วยทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงแรงงานราคาถูกที่ใช้เป็นฐานในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ และเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำของรายได้คุณธรรมจริยธรรมอันเป็นรากแก้วของสังคมเริ่มหายไปทุกคนมุ่งหาเงินเป็นหลัก อีกทั้งยังต้องพึ่งทุนทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ในขณะที่มีข้อจำกัดในด้านการพัฒนาศักยภาพของคน และการเสริมสร้างฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ถึงแม้ประเทศไทยจะหลุดพ้นจากคำว่ากลุ่มประเทศยากจน แต่การเติบโตดังกล่าวยังอยู่บนพื้นฐานความไม่สมดุลของการพัฒนา กล่าวคือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาคระหว่างชนบทกับเมืองและระหว่างกลุ่มคนในสังคมยังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยใช้ภาคเกษตรกรรมเป็นฐานของความเจริญ ดังจะพบว่าลักษณะสำคัญของแผนพัฒนาประเทศ นโยบาย กฎหมาย ฯลฯ ที่ผ่านมาก็คือ การเป็นเครื่องมือถ่ายโอนทรัพยากรและมูลค่าส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม เมื่อมองที่มาของการจัดทำแผนฯ ตั่งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 3 เจ้าหน้าที่ของสภาพัฒน์เป็นผู้เขียน ถัดมาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 – 7 เจ้าหน้าที่ของทุกระทรวงเป็นผู้เขียน แล้วนำไปให้ประชาชนปฏิบัติ สำหรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นต้นไปประชาชนมีส่วนร่วมในการเขียนแผน โดยในแผนฯ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 – 2544 ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจมุ่งสู่พัฒนาคน“คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” เพราะคนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกเรื่อง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคน เพื่อให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วม และรับผลประโยชน์จากการพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ ทุกกระทรวงได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเดียวกันคือการเพิ่มศักยภาพของคนและการพัฒนาสังคมให้มีส่วนในการส่งเสริม และสนับสนุนต่อการพัฒนาคน โดยในวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ “เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น” จากที่ต้องปรับตัวให้เหมาะสม สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ในแต่ละช่วงเวลามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการพัฒนาทั้งที่ประสบความสำเร็จและทั้งที่ต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคจนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น ในแผนฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นแผนฯ ที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ แต่ในภาคปฏิบัติการบริหารภาครัฐกลับเน้นความเติบโตด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก

ในร่างแผนฯ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554 ที่กำลังจะมาถึงในเวลาอันใกล้นี้ ยังคงยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งพัฒนาสู่ สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (Green Society) โดยคำนึงถึงการดำเนินการในทางสายกลาง ที่อยู่บนพื้นฐานความพอดี เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก และความพอประมาณอย่างมีเหตุผล เป็นการใช้ชีวิต การผลิตและการบริโภคอยู่บนความพอประมาณ และการเสริมสร้างคุณภาพคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต ชาวบ้านในท้องถิ่นชนบทประมาณร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่เกษตรกรประมาณร้อยละ 41 ของเกษตรกรทั้งประเทศที่ทำการเกษตรบนที่ดินของตนเอง ผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะ เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ทว่าเกษตรกรไทยกลับมีรายได้ลดลง ชาวบ้านในชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงต้องประสบกับปัญหาความยากจน ทั้งๆที่ในท้องถิ่นชนบทมีภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีค่าอยู่มากมาย (ศิวฤทธิ์พงศกร-รังศิลป์.2544 : 7) ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โดยเริ่มจากภาวะวิกฤตสถาบันทางการเงิน และลุกลามไปยังธุรกิจเกือบทุกสาขา ทั้งธุรกิจที่มีกิจการขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ก่อให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ผลที่เกิดจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้อำนาจการซื้อขาย การบริโภคของประชาชนลดน้อยลง ธุรกิจเกิดการชะลอตัว หรือลดการผลิต มีการเลิกจ้างงาน เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน เป็นต้น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลกระทบลุกลามกลายเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขให้ความช่วยเหลือ โดยความร่วมมือ จากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการที่จะกระตุ้น สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพัฒนาอาชีพเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม พึ่งตนเองได้โดยใช้ภูมิปัญญา ซึ่งเป็นพื้นฐานของครอบครัว ชุมชน อย่างเชื่อมั่น และยั่งยืน (กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2545 : 23)

จากสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่โลกต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายในเกือบทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่แปรผันไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก (บูรชัย ศิริมหาสาคร 2540 : 11-12) วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกิดขึ้น แม้ภาครัฐบาลและภาคเอกชนจะได้ดำเนินความพยายามร่วมกันในการเร่งกอบกู้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้สำเร็จ ส่งผลกระทบไปสู่ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศ ความร่วมมือที่จะบังเกิดผลโดยทันที คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายในระดับครอบครัว ทำให้ยืนหยัดอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยการบริหารจัดการทรัพยากรที่ยังเหลืออยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างพอเพียง ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของวิสัยทัศน์ใหม่ คือ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบใหม่ จัดระบบความสัมพันธ์ใหม่ระหว่าง "คน ทรัพยากร และความรู้" อันเป็นสามปัจจัยหลัก ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การจัดการ และการพัฒนาที่เกิดจาก "ภายใน" ชุมชนท้องถิ่น และ "ทุน" ที่แท้จริงของตนเอง ทุนที่เป็นทรัพยากร ผลผลิต โภคทรัพย์ ความรู้ ภูมิปัญญา ระบบคุณค่า วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งทุนทางสังคม เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ พึ่งพาตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างกลไกที่เป็นทางเลือกใหม่ให้ชุมชนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองในการจัดการตนเอง และทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะทำให้ชุมชนค่อยๆ ได้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา ความเชื่อมั่นซึ่งเคยมีในอดีตแต่ได้หายไปพร้อมกับความล้มเหลวของการพัฒนาในระยะ 40 ปีที่ผ่านมา เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรและผลผลิตในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาและปรับปรุงการจัดการการผลิต การแปรรูป และการตลาดภายในชุมชนและท้องถิ่น มีรากฐานที่มั่นคง ซึ่งมนุษย์จำเป็นต้องบริโภคปัจจัยสี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหาร จึงควรผลิตเพื่อการบริโภคเองให้ได้มากที่สุด เพื่อการพึ่งพาตนเอง แนวทางหนึ่งในการพึ่งพาตนเองและลดรายจ่ายคือ การปลูกพืชสวนครัวไว้กินเอง ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มาก

ผักที่ประกอบในอาหารแต่ละชนิด ทำหน้าที่สองอย่าง คือ เพิ่มคุณค่าทางอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากผักอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์มากน้อยแล้วแต่อาหารแต่ละชนิดของผัก หน้าที่ของผักอีกอย่างคือ เป็นเครื่องชูรสอาหาร เนื่องจากผักมีสีสันต่าง ๆ หลากหลาย รวมทั้งรสและกลิ่นของผักต่าง ๆ ก็มีส่วนในการเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานมากขึ้นด้วย
การปลูกผักไว้รับประทานนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีโอกาสที่จะได้รับประทานรสชาติผักที่ใหม่และสด รวมทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายประจำวัน สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังให้ความเพลิดเพลินใจ มีส่วนให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันในการช่วยปลูก และช่วยกันดูแลผักสวนครัวที่สมาชิกภายในครอบครัวช่วยกันสร้างขึ้นมา นับเป็นการปลูกจิตสำนึกต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีค่ายิ่ง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและตกต่ำ ประชาชนมีรายจ่ายสูงในการซื้อหาวัตถุดิบ เพื่อการประกอบอาหาร รวมถึงสถานการณ์ตื่นตัวในด้านสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอาหารจากพืชผักสวนครัว ดังนั้น ถ้าหากได้ให้ความสนใจทางเลือกใหม่ คือ เพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเองในครัวเรือน ซึ่งเป็นพรรณผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้ในท้องถิ่นที่นิยมนำมาบริโภคเป็นผักตามวัฒนธรรมการบริโภคแต่ละท้องถิ่น โดยได้มาจากการปลูกไว้บริเวณบ้าน เพื่อสะดวกในการเก็บบริโภค นอกจากบริโภคแล้ว ยังถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และบางประเภทมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งจะเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการลดรายจ่ายประจำวันลงได้
จากการศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพในชุมชน ในเขตพื้นที่ที่นักเรียนอาศัยอยู่ ซึ่งได้แก่ตำบลทางพูน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะพื้นที่แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือพื้นที่หมู่ที่ 1 ,2 และ 6 เป็นส่วนที่เป็นสันเนินทราย เป็นพื้นที่อาศัยของชุมชน ส่วนทางทิศตะวันตกเป็นของตำบล เป็นท้องที่พรุ เป็นทุ่งนา หมู่ที่ 3และหมู่ที่ 5 เป็นพื้นที่พรุ ที่เปลี่ยนสภาพเป็นป่าพรุ เป็นทุ่งนา สภาพดินเป็นดินเปรี้ยว ทำการเพาะปลูกได้ผลไม่มากนัก หมู่ที่ 4 เป็นพื้นที่ทั้งเนินทราย ทุ่งนา และทุ่งที่เป็นพรุ พื้นที่ส่วนนี้ชุมชนอาศัยหนาแน่นพอสมควร อันเนื่องด้วยสภาพพื้นที่เหมาะในการเกษตรทั้งไม้ผล พืชไร่ และนาข้าว ส่วนอาชีพและที่ดินทำกินส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับราชการ ฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลทางพูนแบ่งได้เป็นสองช่วง คือ สมัยเดิม ชุมชนมีฐานะปานกลาง อันเนื่องด้วยทรัพยากรมรมาก ชุมชนมีกินมีใช้สมบูรณ์ ปัจจุบันชุมชนหนาแน่นขึ้น ดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง รายได้ของชุมชนลดลงต้อง บางคนต้องเลิกอาชีพเดิม หันไปหางานในต่างถิ่นมากขึ้น อาชีพหลักในชุมชน เดิมมีการทำนาข้าวที่เรียกว่านาปี ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน เป็นอาชีพหลักที่สามารถดำรงชีวิตได้ดี ปัจจุบันการทำนาลดลงเช่นกัน ชุมชนขายที่ทำกินให้นายทุนในราคาต่ำ ไปหลายพันไร่ หันไปรับจ้างทั่วไปและย้ายถิ่นทำมาหากิน ในท้องถิ่นอื่น ชุมชนมีหนี้สินเช่นหมู่ที่ 2 มีหนี้สินรวม 2,520,100 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 5,000 บาท (องค์การบริหารส่วนตำบลทางพูน.2549 : 5-7) และจากการที่โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยครูที่ปรึกษา ได้จัดโครงการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนในกลุ่มที่รับผิดชอบ เพื่อศึกษาด้านสภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวนักเรียนที่ส่งผลต่อการศึกษา เช่น ความเป็นอยู่ สภาพทางอาชีพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จากการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ปกครองพบว่าลักษณะชุมชนตำบลทางพูนเป็นชุมชนที่มีประชากรอาศัยไม่หนาแน่น มีพื้นที่ในบริเวณบ้านกว้างขวางประมาณ ½ - 2 ไร่ มีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่มาก สภาพดินสามารถปลูกผักสวนครัวได้ทุกครัวเรือน และจะมีน้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน บางครอบครัวรายได้ไม่ค่อยพอกับรายจ่าย ต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นในตัวเมือง เพื่อให้ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น บางครอบครัวพอกินพอจ่ายไม่เดือดร้อนมากนัก (นางปรานี นุ่นเกิด ผู้ปกครองนักเรียนชั้นม. 1/4 ) ทุกครัวเรือนจะนิยมปรุงอาหารรับประทานกันเองภายในครัวเรือน พืชผักสวนครัวที่บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อทุกอย่างที่บริโภค โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวมีการบริโภคเฉลี่ยครัวเรือนละ 10 – 30 บาทต่อวันต่อครัวเรือน(ผู้ปกครองนักเรียนชั้นม.1/4, สัมภาษณ์. 2550 ) และจากการสอบถามพบว่าผู้ปกครองต้องการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเองและอยากให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกพืชผักสวนครัวด้วย เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นได้มีความรับผิดชอบ มีใจรักการทำงาน และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และจะได้เกิดความเคยชินปลูกผักไว้กินเองต่อไปเมื่อโตขึ้นและเป็นการช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการปลูกพืชผักสวนครัว และผู้ปกครองและนักเรียนมีความเห็นตรงกันว่าการปลูกพืชผักสวนครัวสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่าทำอย่างไรให้นักเรียนและผู้ปกครองมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและพืชผักสวนครัวจะลดรายจ่ายในครัวเรือนได้อย่างไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการสร้างองค์ความรู้การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนของผู้ปกครองและนักเรียน ชั้นม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. เพื่อศึกษาการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนของผู้ปกครองและนักเรียน ชั้นม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนของผู้ปกครองและนักเรียน ชั้นม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประโยชน์ของการวิจัย

1. ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีองค์ความรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
2. ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

3. ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร ได้สรุปผลที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน : กรณีศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้

1 ประชากร
1.1 หน่วยประชากร
หน่วยประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ผู้ปกครองและนักเรียน ชั้น ม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 14 ครัวเรือน
1.2 หน่วยการวิเคราะห์
หน่วยการวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน ชั้นม.1/4 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 14 ครัวเรือน

2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2.1 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นม.1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 50 % ของห้องม.1/4 เท่ากับจำนวน 14 ครัวเรือน
2.2 แผนการสุ่มตัวอย่าง
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(purposive Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด. 2543 : 41 ) เนื่องจากผู้วิจัยเป็นคุณครูที่ปรึกษาและครูผู้สอนของนักเรียนชั้นดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการดำเนินการวิจัย อาศัยความความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความสนิทสนมคุ้นเคย และความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามและสรุปผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน : กรณีศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษา ซึ่งได้แก่
1. แบบสังเกต เป็นแบบสังเกตทั่วไปของสภาพชุมชน และแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 ชุด
2. แบบสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลความต้องการการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ของผู้ปกครองและนักเรียนชั้นม.1/4 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 14 ชุด
3. แบบการจัดเวทีเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) โดยใช้เทคนิค A I C จัดเวทีเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองและนักเรียนชั้นม.1/4 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 14 ครัวเรือน
4. แบบบันทึกติดตามผลการจัดกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวของนักเรียนและผู้ปกครองชั้นม.1/4 จำนวน 14 ชุด
5. แบบสรุปผลการปลูกพืชผักสวนครัวของนักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 14 ชุด

วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

ข้อมูลที่ใช้ประกอบการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใน 2 ส่วนหลักๆ คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จาก
1.1 วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ออกไปเยี่ยมครอบครัวนักเรียนและผู้ปกครองจำนวน 14 ครัวเรือน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกัน สร้างความสนิทสนมเป็นกันเองจนเข้าใจปัญหา เข้าใจวิธีคิด ด้วยการใช้กระบวนการสังเกต สนทนาซักถาม และจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลจากความเป็นจริงมากที่สุด
1.2วิธีการสัมภาษณ์และสนทนาแบบเป็นทางการและการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ บันทึกเทป บันทึกเสียง และถอดเป็นลายลักษณ์อักษร การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการโดยกำหนดแบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ผู้ปกครองและนักเรียนทั้ง 14 ครัวเรือน ใช้คำถามเป็นแบบปลายเปิด ตามประเด็นที่กำหนดในการศึกษา
1.3 วิธีการการจัดเวทีเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) โดยวางแผนการจัดเวทีไว้ล่วงหน้า นัดหมายผู้ปกครองและนักเรียนชั้นม.1/4 จำนวน 14 ครัวเรือน จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า (AIC) ซึ่งเป็นวิธีการและเทคนิคในการเอาคนที่จะทำงานร่วมกันทั้งหมด เข้ามาประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ซึ่งจะดำเนินการใน 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 คือ A : Appreciation ขั้นที่ 2 คือ I : Influence และขั้นที่ 3 คือ C : Control กำหนดแผนปฏิบัติการ เป้าหมาย และข้อตกลงร่วมกันในการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนระหว่างผู้วิจัย ผู้ปกครอง และนักเรียน
1.4 วิธีบันทึกผลการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยนักเรียนและผู้ปกครองชั้นม.1/4 ร่วมกันบันทึกผลการเจริญเติบโต/ปัญหาอุปสรรคที่พบ
1.5วิธีสรุปผลการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนของนักเรียนและผู้ปกครองชั้นม.1/4 จำนวน 14 ครัวเรือนตามประเด็นที่กำหนด
1.6 รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ สอบถาม การจัดเวทีเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) การบันทึกผลการปลูกพืชผักสวนครัว การสรุปผลที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัว โดยบันทึกเทปเสียง และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
1.7 ถอดเทปบันทึกเสียง การจัดเวทีเชิงปฏิบัติการ(Work Shop) การสรุปผลที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัว และถอดข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร
1.8 นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ผล สรุป และอภิปรายผล

2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจากหนังสือ เอกสาร วารสาร และอินเตอร์เนต ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การศึกษาเพื่อชุมชน : มหาวิทยาลัยชีวิต

' โดย นักศึกษาสุมณฑินี สมัครพงศ์
' รหัสนักศึกษา ๔๙๕๐๑๗๓๖๒๕๒๘๘


ด้วยวัยและประสบการณ์ในระยะเวลา ๔๘ ปีของช่วงชีวิตดิฉันที่ผ่านมา ผลของการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ แผนฯ ๑ – ๙ และแผน ๑๐ รัฐได้ทุ่มเททรัพยากรในทุกด้านเพื่อจะพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อจะได้หลุดพ้นจาการเป็นประเทศด้อยพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จัดสรรงบประมาณ และได้วางโครงสร้างจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมให้สอดรับกับทิศทางและบรรลุผลในเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผน ระบบพึ่งพิง-พึ่งพาความเกื้อกูลของชุมชนเริ่มห่างหาย ขาดความเชื่อมั่นของคนภายในชุมชนด้วยกันเอง การบริหารจัดการภายในชุมชนยากแก่การประสาน วัฒนธรรมที่เกื้อกูล จิตใจสาธารณะเริ่มห่างหายไปจากชุมชน การพัฒนาทิ้งไว้แต่ความหวังพึ่งรัฐ หวังพึ่งแต่กลุ่มชนภายนอกชุมชน ต้องอาศัยคนภายนอกหรือหน่วยงานราชการเข้ามาจัดการ

การจัดการและให้การศึกษาที่ผ่านมา คนยิ่งมีความรู้ ยิ่งการศึกษาสูง ตั้งแต่ระดับการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษา ไม่สามารถจะประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขอยู่ในชุมชน ต้องอพยพไปทำงานถิ่นอื่น คนที่มีความรู้ระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต จะสามารถมาประกอบอาชีพอยู่ในชุมชนหรือทำงานสร้างสรรค์ชุมชน ควบคู่กับการทำงานหน่วยงานพัฒนาของรัฐได้อย่างน้อยคนเหลือเกิน ในชุมชนมีแต่บุคลากรในการทำงานเป็นคนเฒ่าคนแก่หรืออาจจะพบเห็นลูก หลานที่ตัวเล็กๆ ที่ถูกส่งมาให้เลี้ยงจากกลุ่มคนหนุ่มสาว ที่เป็นวัยทำงานอยู่ในเมืองหรือเมืองใหญ่ที่เชื่อว่าเป็นแหล่งงาน ทำให้ชุมชนท้องถิ่นขาดผู้รู้ที่เป็นวัยทำงาน วัยเจริญพันธุ์ของชุมชนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการเกิดศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนที่มีวิชาความรู้ได้พัฒนาท้องถิ่นตนเอง โดยความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษากับมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคต่างๆ เช่น ภาคใต้ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภูเก็ตและมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคกลาง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสระเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเหนือและภาคตะวันออก ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ถือเป็นความร่วมมือจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีความก้าวหน้าเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชน ระดมศักยภาพ สรรพกำลังของท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกด้าน โดยเฉพาะองค์กรราชการ(ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ. เทศบาล และอบต. ชุมชน องค์กรเอกชนที่มีแนวคิดอุดมคติในการจัดการชุมชน ให้เกิดชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อชุมชนจัดการตนเองและพึ่งตนเองได้ในที่สุด

การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภายในท้องถิ่น หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการจัดการศึกษามุ่งสร้างบัณฑิตพัฒนาท้องถิ่นที่สนองตอบต่อชุมชนอย่างแท้จริง เป็นการ“สร้างผู้รู้อยู่คู่กับชุมชนท้องถิ่น” ซึ่งเป็นบุคลากรใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาเป็นผู้นำพาทางความคิดการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญเป็นคนวัยทำงานที่กำลังกล้าแกร่งทั้งแรงกาย แรงความคิดและความมุ่งมั่น เป็นผู้ร่วมกันค้นหาความต้องการ ร่วมกันคิด วิเคราะห์ปัญหา กำหนด วางแผนทิศทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้ตามศักยภาพ ความหลากหลายอย่างสอดคล้องเป็นของชุมชนท้องถิ่นเอง และยังแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรภายนอกมาใช้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างรู้เท่าทัน

การจัดการศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตจังหวัดนครศรีธรรมราช ในระดับมหาบัณฑิตหรือบัณฑิตศึกษา (ศศ.ม.) หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Master of Art Program in Interdisciplinary Study For Local Development) โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสากิจชุมชน และร่วมมือกับองค์กรในพื้นที่เป็นเจ้าภาพท้องถิ่นโดยมี “คณะกรรมการบริหารศูนย์เรียนรู้” กำกับดูแลได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช และองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร โดยใช้สถานที่จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์จัดการศึกษา มีผู้อำนวยการเรียนรู้ดำเนินการ ประสานงานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและมูลนิธิสถาบันวิสาหกิจชุมชน ในการอำนวยความสะดวกทางด้านงานธุรการ กระบวนการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา อาจารย์ วิทยากร และรวมถึงการจัดกระบวนการศึกษาต่อเนื่อง ในบริบทของท้องถิ่นที่สอดคล้องกับหลักสูตรเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องโดยวางแผนอย่างมีส่วนร่วม ของผู้ประสานงานกับนักศึกษาตลอดทั้งภาคเรียนและรวมถึงการขอการสนับสนุนจากองค์กรภาคีท้องถิ่น โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้หนุนช่วยงบประมาณเพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นนักศึกษาได้ทัศนศึกษาดูงาน ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตและมหาบัณฑิต ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวในการวางแผน ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้ในอนาคต

“มหาบัณฑิตแห่งอนาคต สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ” ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรให้มหาบัณฑิตมีคุณลักษณะคือ “มีความรู้ความเข้าใจหลักการทางสาขาวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สามารถนำความรู้จากแนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยและการวิจัยไปใช้เพื่อวางแผน ดำเนินการ และประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่น มีทักษะในการค้นคว้าวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สร้างความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการพัฒนาท้องถิ่นที่มีลักษณะบูรณาการและเชื่อมโยงสาขาวิชาต่างๆเข้าด้วยกันอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน และมีความพร้อมในการเป็นนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น” นอกเหนือจากการจัดการศึกษาให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ยังมุ่งเน้นปรัชญาของหลักสูตรคือ“การแก้ไขปัญหาความยากจนให้ได้ผลอย่างยั่งยืนนั้นต้องมีการพัฒนาทุนทางปัญญาโดยการส่งเสริมมุ่งกระบวนการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกันและสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของท้องถิ่น รวมทั้งปัจจัยต่างๆอย่างมีพลัง ทั้งนี้โดยการเปิดโอกาสให้บุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นได้ศึกษาในระดับมหาบัณฑิต เพื่อให้สามารถสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับศักยภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละท้องถิ่น อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นรากฐานสำคัญเพื่อการพัฒนาที่มั่นคงของประเทศชาติโดยรวม” (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,๒๕๔๙) ซึ่งได้เล็งเห็นว่าการผลิตมหาบัณฑิต ในสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ มหาบัณฑิตที่สามารถเป็นบุคลากรที่เข้มแข็งในด้านการวิจัยและพัฒนาโดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาท้องถิ่น เป็นวิทยากร ครู และอาจารย์ที่รู้เข้าใจในฐานทรัพยากรของเศรษฐกิจชุมชน ความหลากหลายและภูมิปัญญา ซึ่งเป็นรากเหง้าของชุมชนท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นนักยุทธศาสตร์ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับทรัพยากรของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

“มหาบัณฑิตแห่งอนาคต สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ” ต้องอาศัยยุทธศาสตร์หลายสาขาในการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความอยู่เย็นเป็นสุข และชำนาญการที่จะเป็นนักวิจัยและพัฒนาร่วมกับชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการเป็นนักยุทธศาสตร์ในวางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น เป้าหมายเพื่อจะแก้ปัญหาการพึ่งพิง-พึ่งพาจากองค์กรภายนอก สร้างความพร้อม สร้างพลังให้แก่ชุมชนที่เผชิญสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาการและเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนไป ตลอดจนช่วยในการพัฒนาตนเองและชุมชนของตนได้อย่างเหมาะสม ใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้มาพัฒนาคนในชุมชนทุกๆด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม การเมือง และวัฒนธรรม สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถจัดการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาการศึกษาที่ว่า “ ชุมชมเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง สู่ชุมชนพึ่งตนเอง” โดยมีแนวทางการจัดการศึกษา คือ “นำสิ่งที่ทำมาเรียน นำสิ่งที่เรียนไปทำ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน” ซึ่งดิฉันมั่นใจว่าหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสากิจชุมชน และความร่วมมือกับองค์กรในพื้นที่ จะเป็นเป็นรากฐานสำคัญเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ก่อให้เกิดความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป

(เขียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 เสนอ รศ. ดร.โกวิทย์ พวงงาม)


'J'J'J'J'J'J'J'J'J'J'J'J'J'J'J