วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

รายชื่อนักศึกษาป.โท รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

รายชื่อนักศึกษาป.โท รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ศูนย์เรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช

  1. นางสาวกันลิกา สวัสดิวงศ์ อาชีพ เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ อบต กรุงหยัน
  2. นางขวัญใจ ชูมณี อาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บ้านเปี๊ยะ
  3. นายจรัญ อินทะมุสิก อาชีพ รับราชการครู
  4. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว อาชีพ นักการเมืองท้องถื่น
  5. นางสาวชไมพร นวลละออง อาชีพ ประกอบอาชีพส่วนตัว
  6. นางสาวชุลีพร ราชเวช อาชีพ พนักงานธนาคาร
  7. นายชาติชาย ถนอมวงศ์ อาชีพ รับราชการครู
  8. นายณรงค์ ศรีวารินทร์ อาชีพ รับราชการครู
  9. นายดำริ เทพทวี อาชีพ รับราชการครู
  10. นายทรงธรรม สุวรรณรัตน์ อาชีพ รับราชการครู
  11. นางนงลักษณ์ กลีบแก้ว อาชีพ ข้าราชการบำนาญ
  12. นางนิภา บุญทอง อาชีพ รับราชการครู
  13. นายบุญรักษ์ สงทิพย์ อาชีพ เจ้าหน้าที่ อบต.
  14. นายประหยัด กลับดี อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  15. นางปราณี จุลพูน อาชีพ รับราชการครู
  16. นางสาวพัชรี ทองเรือง อาชีพ เจ้าหน้าที่ อบต.
  17. นายนิพิธ สงช่วย อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  18. นางเพ็ญศรี รัตนพันธ์ อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  19. นายไพบูลย์ เพชรานนท์ อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  20. นายไพศาล บุญทอง อาชีพ รับราชการครู
  21. นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล อาชีพ ประกอบอาชีพส่วนตัว
  22. นางสาวลัดดาวัลย์ แป้นคง อาชีพ เจ้าหน้าที่ อบต.
  23. นายลาศ ชูเชิด อาชีพ รับราชการครู
  24. นายวราวุฒิ ศรีเทพ อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  25. นายวินัย อนุวัฒน์วงศ์ อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  26. นางศิวพร สีดำ อาชีพ รับราชการครู
  27. นางสกุล นิรภัย อาชีพ รับราชการครู
  28. นายสมเดช ปลอดทองสม อาชีพ เจ้าหน้าที่ธนาคาร
  29. นายสมพร ปานช่วย อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  30. นายสรศักดิ์ ภิญโญ อาชีพ เจ้าหน้าที่ อบจ.
  31. นายสะอาด หมอกแก้ว อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  32. นายสิริวิทย์ เสนเรือง อาชีพ ข้าราชการบำนาญ
  33. นางสุดา ไพศาล อาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  34. นางสาวสุธารัตน์ ทรงสง่า อาชีพ รับราชการ
  35. นางสาวสุภิญญา บุญเฉลย อาชีพ นักพัฒนาองค์กรอิสระ
  36. นางสุมณฑินี สมัครพงศ์ อาชีพ รับราชการครู
  37. นางสาวแสงเดือน โอสถศรี อาชีพ เจ้าหน้าที่ อบต.
  38. นายอนันต์ คลังจันทร์ อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  39. นายอภิญญา สกุลรัตน์ อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  40. นายอภิวัฒน์ ไชยเดช อาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  41. นางอวยพรทิพย์ เพียรพันธ์ อาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
  42. นางสาวอันธิกา บรมเจต อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  43. นายสัตวแพทย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  44. นายอุดม วิทยธาดา อาชีพ รับราชการครู
  45. นางพยอม ยางแก้ว อาชีพ รับราชการครู

ผู้ประสานงานนักศึกษาปริญญาโท รุ่นที่ 1 ศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร : นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

หัวเรื่องที่สนใจศึกษา(เขียนบอกกล่าว)ของสุมณฑินี สมัครพงศ์

การเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช
จากความเคยชินในฐานะที่เป็นราชการค่อนข้างสอนให้ดิฉันยึดติดในระบบการเป็นเจ้าคนนายคน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเป็นม่านกั้นบางๆ ทั้งๆที่ตนเองอย่ในฐานะหัวหน้างานบุคลากรและงานสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน
ระยะเวลาหนึ่งปีกับสองเดือนสำหรับการเรียนในมหาวิทยาลัยชีวิตของดิฉัน ทำให้ได้รับประสบการณ์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องโรงเรียนกับชุมชน ทั้งๆที่ตาม พรบ.การปฎิรูปการศึกษาในมาตราที่ 29 ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า "ให้สถานศึกษามีหน้าที่ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม แสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาชุมชน " แต่ในความเป็นจริงไม่ค่อยได้รับความสนใจในพรบ.การศึกษาที่เขียนไว้เท่าที่ควร ยึดถือเฉพาะตัวนักเรียนเป็นหลักและมีหน้าที่หลักก็คือสอนนักเรียนเท่านั้น
เมื่อได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยชีวิตทำให้มีความรู้สึกว่าการพัฒนาผู้เรียนที่ตัวนักเรียนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่การเรียนการสอนที่แท้จริง การจะทำให้นักเรียนมีคุณภาพนั้น ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าชุมชนเข้มแข็ง ผู้ปกครองเข้มแข็ง นักเรียนก็จะมีความเข้มแข็งตามไปด้วย การใช้เวลาว่างในการเดินชอบปิ้งเป็นสิ่งที่เคยโปรดปรานเป็นอย่างมาก ตอนนี้มีความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวปัจจัยเสริม เสียเงินโดยใช่เหตุ การได้เอาเวลาเหล่านั้นไปพัฒนาชุมชน ช่วยเหลือชุมชน ใช้เวลาว่างปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในบริเวณบ้านของตนเอง นั่งศึกษาหาความรู้โดยการอ่านหนังสือ ท่องไปในโลกกว้างกับอินเทอร์เนต ติดตามสถานการณ์บ้านเมือง เป็นสิ่งที่เข้ามาทดแทนเวลาที่เคยใช้ไปแต่เดิม ๆ ซึ่งจากการพูดคุยและอยู่ด้วยกัน พวกเราจะมีจิตเป็นสาธารณะกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยพระนครที่ได้เปิดสาขานี้(สาขาสหวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) ซึ่งคาดว่าในปีการศึกษา 2551 จะเปิดรับนักศึกษารุ่นใหม่ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2551 ซึ่งบทความนี้เป็นมุมมองของตัวดิฉันเมื่อเข้ามาสู่มหาวิทยาลัยชีวิต และทำให้มีความรู้สึกตัวเองเข้ามาเรียน ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้คุ้มค่าจริงๆ

จดหมายข่าวการศึกษาดูงานครั้งที่ ๓ ทุ่งสง ทุ่งใหญ่

จดหมายข่าว ฉบับย้อนรอยศึกษาดูงานครั้งที่๓ อ.ทุ่งใหญ่
ย้อนรอยโดย นักศึกษา สุมณฑินี สมัครพงศ์
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
.........................................................................................................................................................................
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ระดับบัณฑิตศึกษาทุกคน ยินดีต้อนรับ.ดร.สวัสดิ์ พุ้มพวง ด้วยความยินดียิ่ง
..................................................................................................................

จดหมายข่าวฉบับนี้นักศึกษาได้มีโอกาสต้อนรับ ดร.สวัสดิ์ พุ้มพวง ที่พวกเราชาวนักศึกษายินดีและภูมิใจเป็นยิ่งยิ่ง ที่ได้มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ จากท่านมาแล้วถึงสองครั้งด้วยความคม ชัด ในทุกประเด็น นักศึกษาขอต้อนรับด้วยความยินดียิ่งค่ะ
ค่ะสำหรับจดหมายข่าวฉบับนี้ภายใต้ชื่อว่า ” ฉบับย้อนรอยศึกษาดูงาน ” ระหว่างวันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ ขออนุญาตนำเสนอเป็นจดหมายข่าวเล็กๆได้อ่านยามว่างด้วยกัน
๐๙.๐๐น. พรรคพวกก็ทยอยถึงบ้านพี่เพ็ญศรีกันเป็นละลอก คันแรกที่ไปถึงคือน้องหมอเบิร์ดน้องสาวคนสวย ทักทายเจ้าของบ้านเสร็จขนมจีนกับแกงขมิ้นหนองหงส์หมดไปสามชามเติบๆ เด็กกำลังกินกำลังนอนก็อย่างนี้แหละเจ้าค่ะ
๑๐.๐๐ . นักศึกษาก็มาพร้อมกัน ทุกคนก็ได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันจัดเวที โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแกงขมิ้น และกลุ่มประวัติตำบลหนองหงส์ เปิดเวทีโดยผอ.สวัสดิ์ สมัครพงศ์ ก็ตื่นเต้นกับเวทีสำหรับนักวิจัยมือใหม่พอสมควร อาจารย์ดร.สวัสดิ์ พุ้มพวง ได้สรุปปิดท้ายการทำเวทีครั้งนี้มีการการกระเซ้าเย้าหยอก เป็นระยะๆ นำทีมโดยคู่หูน้องตุ้มพี่เดช
เที่ยงครึ่งก็เคลื่อนจากทุ่งสงสู่ทุ่งใหญ่ประมาณครึ่งชั่วโมง สถานที่แรกที่เยี่ยมชมดูงานก็คือ องค์การสวนยางกรุงหยัน พบกับวิทยากรเสร็จก็แยกย้ายกันไปดูของจริง ๓ กลุ่มย่อยประมาณ ๑ ชั่วโมงเสร็จสิ้น
ออกจากองค์การสวนยางกรุงหยัน ไปชมทะเลสองห้อง ทำไปทำมาทะเลสองห้องไปอยู่อบต.กรุงหยัน น้องปรานีก็ยืนนับให้พี่สุมณฑินีฟังได้เป็นเรื่องเป็นราว พี่สุมณฑินีก็เออออด้วย ปรากฎเสียงโหวกเหวกว่าไม่ใช่ต้องไปอีก ก็ไปกันอีก คราวนี้ถึงสองห้องจริงๆ สวยมาก บรรยากาศสดชื่น อยากลงไปแหวกว่ายกลางสายน้ำที่ใสแจ๋ว ถ้ามีวิทยากรมาบอกเสียหน่อยว่าทำไมถึงเป็นสองห้องก๊น่าจะดีเนอะ
จากนั้นก็ไปชมถ้ำเพดาน เป็นถ้ำที่น่าสนใจ น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปฝอยฝนว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สุดยอดอีกที่หนึ่งของนครศรีฯ ณ ที่นี้ได้รับความชื่นใจจากน้ำมะพร้าวอ่อนๆพร้อมด้วยข้าวเม่าเหนียวดำคลุกมะพร้างนื้อเพหลาดพอดีฝีมือแม่พยอมกับน้องแจ้ว พอดิบพอดีกับกระเพาะกำลังเรียกหา
ตกบ่ายใกล้ค่ำรถทุกคันก็เข้าสู่หอประชุมโรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร ซึ่งพวกเราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพี่น้องชาวทุ่งใหญ่ โดยเฉพาะน้องโหร้ยงานนี้เต็มที่ กล่าวเปิดเวทีต้อนรับด้วยตนเอง แถมด้วยสองเพลงที่มอบให้ พี่ฝอยฝน ซึ้งใจพ่อน้องยอดรักจริงๆค่ะน้องโหล้ย
พักเหนื่อยรองท้องเสร็จเปิดเวทีโดยผอ.สวัสดิ์ สมัครพงศ์ ขอบคุณพี่น้องทุ่งใหญ่ทุกคนและน้องนักศึกษาที่ลงทุนลงแรงช่วยกันจัดให้มีวันนี้ตั้งแต่น้องหยัด น้องโหล้ย น้องแข้ง น้องแจ้ว น้องเจี๊ยบ น้องปลา โดยเฉพาะน้อพงยอมแม่หัวงานใหญ่ ตามด้วยอาจารย์ดร.สวัสดิ์ พุ้มพวง ขึ้นไปพูดคุยและเปิดเวทีด้วยเสียงเพลงตามด้วยการเปิดฟอร์ล บรรยากาศบรรยายไม่ถูกจริงๆ บอกได้คำเดียว ”ม่วนหลายหลาย” อายุลดเหลือ ๒๐ หมด เอ้อมนุษย์หนอมนุษย์ ช่างเป็นไปได้ เที่ยงคืนดึกดื่นยังมีเสียงประท้วงว่า "เราไม่นอนๆๆๆ " เสียงใครเอ่ย?
เที่ยงคืนกว่าๆพวกเราก็ไปนั่งตาปรอยกันที่ร้านข้าวต้มในตลาด งานนี้ขอขอบคุณท่านสจ.จอมไกร สวัสดิวงศ์ พี่ชายแท้ๆของน้องแจ้วกันลิกา สวัสดิวงศ์ นักศึกษาของเรา ไว้ ณ โอกาสนี้ที่รับเป็นเจ้าภาพข้าวต้มเที่ยงคืน
รุ่งเช้านาฬิกาปลุกยี่ห้อสมเดชก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ปลุกนักศึกษาจากความหลับใหลทุกคนกุลีกุจอทำภารกิจส่วนตัว เจ็ดโมงครึ่งพร้อมกันที่ร้านกาแฟตลาดทุ่งใหญ่ ณ ที่นี้ต้องขอขอบคุณท่านนายกแผน ท่านนายกเทศบาลตำบลป่ายาง ที่กรุณาเป็นเจ้าภาพสำหรับเช้านี้ ฤกษืดีจริงๆนะพวกเรา
วันนี้สถานที่แรกที่ไปศึกษาดูงานก็คือศูนย์เพาะพันธุ์ปลา บรรยายโดยวิทยากรและตามด้วยเยี่ยมชมการเพาะพันธ์ลูกปลา ทุกคนก็ได้ทั้งความรู้ความเพลิดเพลินไปมากมาย ช่างเป็นชีวิตที่น่าสนใจทีเดียว
เริ่มสายพวกเราเดินทางกันอีกครั้งไปสู่ศูนย์อนุบาลปลาดุก บรรยายความเป็นมาของหมู่บ้านจุฬาภรณ์ จนกระทั่งได้จัดตั้งศูนย์อนุบาลพันธุ์ปลาดุกขึ้นมา ณ ที่นี้กำนันพรกับอบต.สาวได้ไปหลายถุง เจ้าของรถบริการยิ้มแปล้เชียวนะ เป็นบรรยากาศแห่งความเอื้อเฟื้อตามประสาพี่น้องแบบน่ารักน่าเอ็นดู
ประมาณสิบเอ็ดโมงต่อด้วยบ้านคุณชาญวิทย์ซึ่งเป็นศูนย์เลี้ยงผึ้ง ข้าวซ้อมมือ การทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักปลอดสารพิษ ท่านสุดยอดจริงๆ แม้แดดจะร้อนเปรี้ยง แต่ท่านบรรยายด้วยจิตวิญญาณของนักบรรยายจริงๆ จากนั้นจึงไปดูของจริง งานนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจของสาวๆป.โท อยากเป็นนางพญาผึ้ง ๑ต่อ ๔๐ นะเจ้าค่ะ พี่รวมขาขอคำตอบหน่อยค่ะ
ตกบ่ายถึงบ้านพี่ไพศาลกับพี่เล็กสองตายายที่น่ารัก “สามีภรรยาตัวอย่างแห่งปี”กล่าวต้อนรับตามด้วยน้ำชากาแฟขนมนมเนย อาจารย์ดร.สวัสดิ์ก็ได้จัดเวทีไดอะลอก ให้นักศึกษาฝึกการนำเสนอ สิ่งที่ได้พบ ได้เห็น ได้รู้ มาสรุปวิเคราะห์ ภายในเวลาคนละ ๒ นาที ทั้งสนุกสนานและได้สาระ ๑๘ คน ๑๘ สไตล์ โดยเฉพาะประเด็นของน้องตาล น้องมุก มุมมองน่าสนใจทีเดียว ตามด้วยการสรุปประเด็นจากการพูดคุยของนักศึกษาจากน้องหมอเบิร์ด พี่หมอ ท่านผอ.สวัสดิ์
สุดท้ายอาจารย์ดร.สวัสดิ์ได้สรุปการเป็นนักฟังที่ดีเพื่อเป็นนักวิจัยที่ดี เที่ยงตรง จากนั้นดอกไม้ให้คุณก็ก้องประสานจากใจนักศึกษาทุกคน....กำลังใจให้คุณ เป็นกำลังให้เธอ...แล้วก็ค่อยแผ่วหายไปทุกคนแยกย้ายกันกลับบ้าน หวังว่าวันหนึ่งจะได้มาพบกันในบรรยากาศแบบนี้อีก ณ สถานที่ใดก็แล้วแต่ เสียดายที่หลายท่านไม่ได้มาและหลายท่านได้กลับไปก่อนด้วยภารกิจส่วนตัว หวังว่าครั้งต่อไปคงจะจัดสรรเวลาลงตัวและครบตั้งแต่ก้าวแรกจนกระทั่งเสร็จสิ้น “ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” ขอบคุณทุ่งใหญ่ ขอบคุณกรุงหยัน ขอบคุณกุแหระ ที่ทำให้มีวันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๐
กลับมาสัปดาห์นี้ เราก็เรียนแบบเรียนกันอีกครั้ง โดยเฉพาะงานต่างๆของอาจารย์แต่ละวิชา เหลืออีกหนึ่งเทอมกับสองเดือนกว่าๆความสำเร็จก็จะเป็นของพวกเราทุกคนแล้ว ก้าวต่อไปให้เข้มแข็งอีกนิดนะคะ ฝอยฝนขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนก้าวเดินหน้าต่อไปค่ะ
สุดท้ายจริงๆ ข่าวกรองที่ค่อนข้างแน่นอน กลางหรือปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๑ พวกเราก็จะได้ไปศึกษาดูงานภาคกลางกัน ขอแจ้งข่าวเพื่อให้พวกเราได้เตรียมตัววางแผนไว้ล่วงหน้า นะเจ้าค่ะ ฉบับนี้เที่ยงคืนแล้วค่ะ ขอถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ ขอให้ทุกคนมีความสุขถ้วนทั่วหน้า สวัสดีค่ะ บ๊ายบาย

· ฝนฝอยค่ะ(มอบให้นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต ทุกคนด้วยความรักยิ่ง)